fbpx

Study advices

อีก 100 วันสอบฟิสิกส์ ทำอะไรดี?

⏰ “แกรรรนับวันผิดเปล่าาา 5555 🤣” — ไม่ผิดๆ อีกแค่ 100 วันจะสอบฟิสิกส์ A-level แล้วคร้าบบบบบ #ใต้เลขห้าคือน้ำตาซ่อนอยู่
.
🔥ใครเพิ่งเริ่มจริงจังตอนนี้ ไม่ต้องตกใจ พี่ขอป้ายยาแรง #RefinedPhysics จัดไปคอร์สเดียว ในเวลา 100 วัน เรายังตามทันถ้า “เริ่มทันที”
1. กำหนดเป้าหมายของตัวเองตามคณะที่ต้องการ
2. สมัครคอร์ส Refined Physics รอหนังสือแค่ 2 วัน
3. เริ่มเรียนจากบทที่ถนัดที่สุดก่อน เรียนสรุปแล้วตะลุยโจทย์เอาเทคนิคเลย
4. ค่อยๆ เก็บบทที่เหลือ ใช้ทุกวินาทีให้คุ้มค่า
5. เข้ากลุ่มมาถามปัญหาทางวิชาการของคอร์ส + ติดตามอัพเดท
.
✅รายละเอียดและสมัครเรียน
https://www.physicsfarm.org/product/refined-physics/
✅ค่าเรียน 5,300 บาท (จาก 6,300 บาท)
#สอบปีนี้ติดปีนี้ สมัครด่วนๆ เลยทุกคนน
.
ปรึกษาการสมัครเรียนหรือติดต่อชำระบัตรเครดิต
ทักไลน์ https://lin.ee/w3cWEmp
สู้ๆ นะอยากเห็นทุกคนสอบติดดด
.
#physicsfarm#ฟิสิกส์ฟาร์ม#dek66#tcas66#เรียนพิเศษ#กวดวิชา#ฟิสิกส์

อีก 100 วันสอบฟิสิกส์ ทำอะไรดี? Read More »

5 เทคนิคเคลียร์การบ้านให้เสร็จทันส่ง

#ใครไม่ลงมือทำตามนี้❌ จะพลาดเกรดสี่ไปแบบน่าเสียดาย
👉 A must ที่นักเรียน ม.ปลาย จำเป็นต้องทำในช่วงใกล้สอบ
.
1.) สร้าง To Do List แล้วลงมือทำทันที
หยุดคิดวนเรื่องงานที่ท่วมท้น เพราะการคิดสิ่งที่ต้องทำทั้งหมดในหัวจะทำให้สมองคิดหนัก ดังนั้น ให้เขียนสิ่งที่เราต้องทำออกมาทั้งหมด แบบนี้เราจะโฟกัสและใช้สมองได้เต็มที่

💯 ที่สำคัญคือ ต้องทำงาน “ตามลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย” โดยไม่ผัดวันประกันพรุ่ง งานด่วนงานร้อนสุดๆ ต้องทำก่อน และวิชาที่ไม่เร่งมาก ก็ทยอยทำสลับกันไปเรื่อยๆ
.
2.) จัดเตรียมสถานที่ให้ง่ายต่อการทำการบ้านมากที่สุด
.
ถ้าสถานที่อ่านหนังสือของเราอยู่ในสภาพไม่เรียบร้อย สมาธิของเราก็จะกระจัดกระจายตามไปด้วย นำอุปกรณ์มาวางให้หยิบจับง่ายขึ้น อยู่ในที่สงบ เลือกเวลาที่เรามีสมาธิที่สุด เพื่อจะได้ทำรวดเดียวไม่มีสะดุด
.
3.) พาตัวเองไปสู่โหมดจดจ่อ
.
⚠️ ปิดแจ้งเตือนคอมพิวเตอร์และมือถือ ⚠️ และจดจ่อกับงานตรงหน้า อย่างน้อย 25-90 นาที และจากนั้นเข้าสู่โหมดผ่อนคลาย
.
4.) พักผ่อนสมองด้วยยยย
.
เราต้องสลับโหมดความคิดหลังทำงาน ❗️จากโหมดจดจ่อ มาเป็นโหมดผ่อนคลาย ⭕️ เพื่อเราจะทำงานได้ยาวนานขึ้น
.
ในตอนผ่อนคลาย เราต้องเลิกคิดเรื่องงานนะ (ห้ามโกง) และไม่กังวลถึงมัน อาจจะลุกขึ้น เดินยืดเหยียด หรือ ฟังเพลงก็ได้ ทำอย่างนี้ประมาณ 10-20 นาที
.
5.) ทำการบ้านไม่ได้ ต้องรีบหาตัวช่วยนะ
.
นอกจากถามเพื่อนแล้ว น้องลองถามคุณครูที่อาจจะตอบข้อสงสัยในการทำการบ้านกับเราได้นะ 👉 ยิ่งถ้าเป็นฟิสิกส์ แวะเวียนมาเม้ามอยกับพี่ได้เลย
.
“อย่าพลาดเกรดสี่ที่โรงเรียนเพราะไม่ได้ส่งการบ้าน”
มันเป็นเรื่องพื้นฐานที่… น้องเองก็ได้คะแนนเต็มได้ !!
.
สู้ๆ กับการเรียนครัชช
โดยเฉพาะฟิสิกส์ ขอเป็นกำลังใจให้ 🧡💛🖤🤍
https://www.physicsfarm.org/
.
#dek66#dek67#dek68#tcas66#tcas67#tcas68#เรียนพิเศษ#กวดวิชา#เรียนฟิสิกส์#ฟิสิกส์มอปลาย#ฟิสิกส์ฟาร์ม#physicsfarm

5 เทคนิคเคลียร์การบ้านให้เสร็จทันส่ง Read More »

Let’s do the Right now plan :)

ไม่มีหรอก Perfect plan มีแต่ Right now plan

.

เหลือเชื่อ ~!! นี่มันธันวาคมล้าววว พี่ขอกรี้ดยาวๆ ส่งท้ายปี ให้กับภาระงานที่ถล่มทลายอยู่ในขณะนี้ (น้องบอก – หนูก็การบ้านโครงงานเพียบเลยข่า)

.

หัวอกเดียวกัน #Dek66 ยิ่งต้องเตรียมสอบ

ล้ากันไหมพวกเธอ?

/ แปะมือ ตบบ่า /

.

ช่วงนี้ พี่เองกำลังเคลียร์คำถามวิชาการล้านแปดที่น้องๆ ส่งกันมาในไลน์ เคลียร์ไปฮึดไป เพราะมันแปลว่า #น้องกำลังล็อกอินเข้ามาเรียน🚩😎 น้องกำลังได้ก้าวไปข้างหน้า

.

ยังไม่รวมถึงคอร์สไฟไหม้ปีนี้ ที่พี่ว่าต้องออกเร็วหน่อย ให้น้องสรุปเข้มๆ แบบปีก่อนที่เซฟหลายคนไว้

.

ก็ชีวิตมีหลายอย่างที่ต้องทำเนอะ

บางที ต่อให้วางแผนมาดียังไง

ก็ต้องมีปรับกันหน้างานด้วย

.

ดังนั้น ถ้าเดือนนี้ ใครยังเก็บฟิสิกส์ หรือวิชาอื่นๆ ที่ตั้งใจไว้ไม่ถึง 50% ต้องปรับ Perfect plan เป็น Rigth now plan แล้วล้ะ

.

ทำโจทย์ เลือกเก็บ เอาบทที่เก่งให้แม่นๆ ไว้

สะสมกำลังใจ อย่าให้แผ่ว

👉🏻ค่อยๆ เติมจุดที่บกพร่อง

สปีดขึ้นเท่าที่ได้ ทำให้สม่ำเสมอ

ความฝันเราใกล้เป็นจริงแล้ว

อีกนิดเดียว ~!!!

.

#พี่เป็นกำลังใจให้

และเรามาเป็นกำลังใจให้กันกันเถอะ🧡

.

แนะคอร์สฟิสิกส์ สำหรับ ม.6 สอบปีนี้

✅ Refined Physics 90 ชม.จบคอร์ส

ปรึกษาการสมัครเรียน ทักข้อความเลย

.

#dek66#tcas66#คอร์สฟิสิกส์#เรียนพิเศษ#ฟิสิกส์#กวดวิชา#ฟิสิกส์ฟาร์ม#physicsfarm

Let’s do the Right now plan :) Read More »

เทคนิคเตรียมตัวก่อนเรียน “จงเขียนสิ่งที่เรารู้ก่อน”

💯💯 อยากเรียนเก่งอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องใส่ใจตั้งแต่การเตรียมตัวก่อนเรียน 🧡 หนึ่งในเทคนิคเตรียมตัวที่พี่อยากจะมาแนะนำคือ #การเขียนสิ่งที่รู้ไว้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ได้ผลจริง~!!

.

เวลาเราเรียนเรื่องใหม่ๆ อาจจะไม่เข้าใจความหมายของข้อมูลที่ได้รับมาดีนัก ❗️ ทำให้รู้สึกท้อแท้ ไม่อยากเรียนขึ้นมา และกลายเป็นว่า ไม่ชอบวิชานั้นไปเลย

.

ขอแนะนำว่า ก่อนเรียน ให้ใช้เทคนิค “การเขียนสิ่งที่รู้แล้วล่วงหน้า”

ซึ่งเป็นเทคนิคที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดรับรองผลว่า ✅ ช่วยให้เข้าใจข้อมูลใหม่ง่ายขึ้น + เพิ่มอัตราการจำฝังแน่น

.

แค่ 2 ขั้นตอนง่ายๆ คือ

.

1. “คิด” ว่ามีอะไรบ้างที่รู้อยู่แล้ว และเกี่ยวข้องกับสิ่งที่กำลังจะเรียน

.

2. “เขียน” สิ่งที่คิดออกทั้งหมดลงไป โดยกระบวนการคิด/ นึกถึงความรู้ที่มีอยู่แล้ว จะช่วยให้เข้าใจข้อมูลใหม่ง่ายขึ้น

.

.

#ตัวอย่างเบาๆ ในฟิสิกส์

ม.5 เทอม 2 เรากำลังจะเรียนเรื่องไฟฟ้า ก่อนเรียนให้ลองนึกดูว่า

เรารู้อะไรเกี่ยวกับไฟฟ้าบ้าง เช่น

✏️…ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ที่มาจากท้องฟ้า

✏️…เคยจับลูกบิดประตูแล้ว รู้สึกโดนไฟช็อตเบาๆ

✏️…เรื่องนี้เคยฟังมานิดๆ หน่อยๆ ในบทก่อน

เป็นต้น

.

หลังจากคิดเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับไฟฟ้าไว้บ้างแล้ว

ค่อยเปิดหนังสืออ่าน เริ่มเรียน

🖤 เราจะเริ่มคิดได้และเข้าใจในทันที

🧡 เพราะกลไกความจำของมนุษย์

​เกิดจากการ #เชื่อมโยงข้อมูลใหม่กับข้อมูลเก่า

.

ถ้าให้เปรียบ

– ความรู้เก่าเป็นลำต้น

– การเรียนรู้คือการแตกกิ่งก้านออกไป

ดังนั้น จำไว้ว่า ความรู้ใหม่ “ต้อง” เชื่อมโยงกับความรู้เก่า

สมองของเราจึงจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองดีที่สุด

.

คือเข้าใจได้-จำแม่น-จำได้นาน นั่นเอง

.

.

คอร์สออนไลน์อย่างฮอทไม่ช็อตฟีล

ปรึกษาวางแผนการเรียน ทักไลน์เลย

https://lin.ee/w3cWEmp

.

#physicsfarm#ฟิสิกส์ฟาร์ม#เทคนิคการเรียน#ความรู้รอบตัว#dek66#dek67#dek68#dek69#ฟิสิกส์มอปลาย

เทคนิคเตรียมตัวก่อนเรียน “จงเขียนสิ่งที่เรารู้ก่อน” Read More »

โคมลอย ลอยได้ยังไง? ฟิสิกส์มีคำตอบ

🦄#คิดซิๆ ทำไมลอยได้? เห็น “โคมลอย” เยอะแยะในวันนี้ 🪄🪄ฟิสิกส์มีคำตอบให้จร้า

“แรงยก” หรือ “Lift” อาจเป็นอีก term ที่น้องๆ ม.ปลาย ยังไม่คุ้นกัน แต่ในวิชาพลศาสตร์การบิน คำนี้คือ universal มากๆ 🧡 ใครอยากเรียนวิศวะ ใครอยากเป็นนักบิน ต้องแชร์~!! มาตอบคำถามว่า “โคมลอย” ลอยได้ยังไงด้วยการวิเคราะห์แรงที่เกี่ยวข้องกันเป็นเสต็ปได้เลย อ่านจบแล้วลองกลับมาดูภาพแรกน้า แล้วช่วยเรียงอุณหภูมิ T1 T2 และ T3 จากมากไปน้อย —- ตอบถูก ขอให้สอบติดดด💛🧡 🚩 ขอให้ นร. มีความสุขในวันลอยกระทงกันมากๆ น้า ใครจะปล่อยโคม ขอให้เล่นในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นค่า

#dek66#dek67#dek68#tcas66#ลอยกระทง#ฟิสิกส์#ความรู้รอบตัว#วิทยาศาสตร์

โคมลอย ลอยได้ยังไง? ฟิสิกส์มีคำตอบ Read More »

#ทายทักรักฟิสิกส์ ข้อสอบฟิสิกส์ A-level ปี 66 จะออกอะไรน้า…

อยากรู้มั้ยว่า การสอบฟิสิกส์ A-level สำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ TCAS ปี 2566 จะต้องเจอกับอะไรบ้าง? มาให้แม่หมอฟาร์มมี่ทำนายกันค่ะ

เริ่มเรียนทันที

Download เอกสารประกอบการเรียนของฟิสิกส์ฟาร์ม

#ทายทักรักฟิสิกส์ ข้อสอบฟิสิกส์ A-level ปี 66 จะออกอะไรน้า… Read More »

Review สมการฟิสิกส์ที่ออกสอบฟิสิกส์สามัญปี 64

📌การสอบเข้ามหาวิทยาลัยใกล้เข้ามาแล้ว โพสต์นี้ พี่รวม “สมการ” ที่เคยออกสอบฟิสิกส์สามัญ ปี 64 มาให้ เพื่อเป็นแนวทางกับน้องๆ ที่ต้องการ wrap up ความรู้ฟิสิกส์จากบทต่างๆ นะครับ

📌📌 ต้องบอกว่า สสวท. ออกทุกบทจริงๆ แม้แต่บทเล็กๆ จิ๋วๆ ที่เมื่อก่อน สทศ. ไม่ออก และข้อสอบมีการกระจายน้ำหนักเป็นอย่างดี ไม่กองที่บทใดบทหนึ่งแบบล้นๆ ต้องขอชมว่า สสวท.คือดีย์ !!

📌📌📌 ส่วนใครอยากให้พี่ช่วยติวฟิสิกส์สอบเข้าแบบสรุปเข้ม แนะนำ คอร์ส Refined Physics มีเนื้อหาฟิสิกส์เข้มข้นครบ 21 บท และ อัพเดทข้อสอบใหม่ๆ ให้ครบทุกปี ลองดูรายละเอียดก่อนได้เลย


✏️ ข้อสอบกลุ่มกลศาสตร์

  • บทนำ
  • การเคลื่อนที่แนวตรง -> ปัญหากราฟ
  • กฎนิวตัน การหาแรงลัพธ์
  • พลังงานศักย์
  • สมดุลกลต่อการหมุน
  • ระบบรอก
  • วงกลม
  • SHM การสั่นสปริง
  • โมเมนตัม
  • โพรเจคไทล์

✏️ ข้อสอบกลุ่มคลื่น

  • คลื่นกล คลื่น 2 ขบวนเคลื่อนที่มาซ้อนทับกัน
  • คลื่นกล การหักเห กฎของเสนล
  • เสียง
  • แสงเชิงคลื่น
  • แสงเชิงรังสี

✏️ ข้อสอบกลุ่มไฟฟ้า

  • ไฟฟ้ากระแสตรง
  • แม่เหล็กไฟฟ้า
  • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • ไฟฟ้ากระแสสลับ
  • ไฟฟ้ากระแสตรง การวิเคราะห์วงจร

✏️ ข้อสอบกลุ่มสสารและความร้อน

  • สมดุลความร้อน
  • แก๊ส พลังงานจลล์เฉลี่ย
  • ของแข็ง
  • ของไหล พลศาสตร์ของไหล
  • ของไหล แรงลอยตัว

✏️ ข้อสอบมอเดิร์นฟิสิกส์

  • ฟิสิกส์อนุภาค
  • ฟิสิกส์อะตอม
  • ฟิสิกส์นิวเคลียร์

✅ Download รีวิวสมการฟิสิกส์ที่เคยออกสอบฟิสิกส์สามัญ 64 ที่นี่

Review สมการฟิสิกส์ที่ออกสอบฟิสิกส์สามัญปี 64 Read More »

Download ชีทติวฟรี ม.4 เทอม 1 สอบปลายภาค เรื่อง “แรง มวล และการเคลื่อนที่ของนิวตัน”

สำหรับน้องๆ ที่ตามพี่ฟาร์มมาจาก Facebook / Youtube ให้น้องๆ download ชีทตรงนี้ได้เลยน้า เทอมนี้พี่ขออวยพรให้ได้เกรด 4 กันทุกคนค่ะ ใครเคยพลาดไม่ต้องเสียใจ เราทำคะแนนตีตื้นได้ !! สู้ๆ

Download ชีทติวฟรี ม.4 เทอม 1 สอบปลายภาค เรื่อง “แรง มวล และการเคลื่อนที่ของนิวตัน” Read More »

กำจัดจุดอ่อน ก่อนสอบฟิสิกส์ TCAS66

แอบเปิดโพยวิชาฟิสิกส์ทุกบทใน ม.ปลาย ที่ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป

สำหรับน้องๆ ทีมเตรียมสอบ tcas66 ถ้าตอนนี้ใครเตรียมสอบเกือบครบทุกบทแล้ว จะต้องสังเกตเห็นภาพรวม และรู้ความลับจับจุดอ่อนของตัวเองได้เก่งแล้ว

การเรียนเพื่อเตรียมสอบที่ดี คือการเสริมจุดแข็ง ปิดจุดอ่อนของตนเองให้มากที่สุดในเวลาอันจำกัดของเรา โพสต์นี้พี่เลยอยากมารีวิว “จุดที่นักเรียนมักผิดพลาดบ่อย” หรือ common mistake ของนักเรียนส่วนใหญ่ให้ดูกัน

อ่านแล้วคิดตามซิ ว่าเรา… “ชิวๆ” กับจุดอ่อนพวกนี้แล้วหรือยัง ?

ถ้ายัง >>> มีหลายคอร์สฟิสิกส์สำหรับเตรียมสอบ TCAS ให้เลือก

ชื่อบท ความรู้สึกตอนเรียน ตอนสอบ/ จุดอ่อน
บทนำสั้น ง่าย เรียนแปบเดียวจบวิชาคณิตศาสตร์อ่อนแอ ทำให้แพ้ฟิสิกส์ไปด้วย
แนวตรงรู้จักปริมาณ อ่านกราฟเป็น เห็นเกรด 4สูตร suvat ที่ท่องง่าย ตกม้าตายเพราะแต่ใช้ไม่เป็น
นิวตันมีกฎแค่สามข้อคือ Three Miracles หากินได้เรื่อยๆ ด้วย ΣF=ma(ยกมือในห้องสอบ) ครูขา… ข้อนี้วาดรูปยังไงนะคะ?
สมดุลขึ้น = ลง / ซ้าย = ขวา / ทวน = ตาม แค่นี้เองตุยตั้งแต่เขียนแรงไม่ครบ/ วาด FBD ไม่ถูก
งาน/ พลังงานกฎอนุรักษ์พลังงาน Eต้น = Eปลาย ใช้งานออกสอบบ่อยดันดูไม่ออกว่าต้น-ปลายอยู่ตรงไหน แล้วนี่เกิดอะไรขึ้นบ้าง
โมเมนตัมกฎอนุรักษ์โมเมนตัม Pต้น=Pปลาย ทำนายผลการชนได้ชิวๆเผลอ บวก/ลบ โมเมนตัมโดยลืมคิดทิศทาง (เอ๊า! นางเป็นเวกเตอร์หรา)
โพรเจคไทล์แยกคิด แกนตั้ง/แกนนอน ด้วยความรู้จากบทแนวตรงก่อนหน้า ^ลืมไปว่ามีสองแกนให้คิดดด
วงกลมหาแรงเข้าสู่ศูนย์กลางให้เจอ แล้วจะตั้งสมการ FC ไปต่อจนจบได้เห? แรงไหนชี้เข้าหาศูนย์กลางกันแน่นะ
ซิมเปิลฮาร์มอนิคมีแค่การแกว่งตุ้ม กับการสั่นสปริงบางโรงเรียนซัดสมการในเทอมตรีโกณ บางโรงเรียนสอนด้วยเวกเตอร์…
คลื่นเรื่องราวดูเหมือนง่าย ตอนเรียนดูเข้าใจ ครูให้ดู amimation ก็เก็ทหมดเรียนเป็น amimation สอบเป็นภาพนิ่ง …ขยับจริงๆ คือไรอ่ะ
แสงคุ้นๆ ไปหมด เพราะขยายความรู้มาจาก ม.ต้น ในบทคลื่นและแสงลืมไปหมดแล้ว
เสียงเนื้อหาหลายส่วนทับซ้อนกับเรื่องคลื่น ทำให้เข้าใจง่าย ตอนทำ lab ปรากฎการณ์เฉพาะเสียงคือดีไปหมดเนื้อหาอีกหลายส่วนก็แปลกใหม่ แถมมีใช้ logarithm อีก / ส่วน lab เป็น lab ทิพย์อ่ะ
ไฟฟ้าสถิตถ้าเข้าใจบทนี้คือต่อยอดทั้งอาณาจักรไฟฟ้าได้ครบมันคือโลกนามธรรม จับต้องไม่ได้ ต้องใส่จินตนาการล้านแปด
ไฟฟ้ากระแสตรง(เกือบ) ทุกโจทย์วงจรไฟฟ้าใช้สูตร V=IR สมการเดียวเอาอยู่จำสูตรได้ แต่วิเคราะห์วงจรไฟฟ้าไม่เป็น (ขนาน-อนุกรมไหลลัดตัดตรงไหนอ่า)
แม่เหล็กแต่ละเรื่องมีสมการของตัวเอง จำเพาะเจาะจง เห็น setting อุปกรณ์ต้องตอบได้เลยมีหัวข้อเรื่องเยอะมากกกก ก.ไก่ล้านตัว เพื่อนครูด้วยกันยังบ่น (เยอะในความแยกย่อยอีกที)
ไฟฟ้ากระแสสลับหลักสูตรใหม่ใช้สอบ TCAS เขา ตัด RLC ไปจนแทบไม่เหลืออะไรให้เรียนแต่หลายโรงเรียนสอบเก็บคะแนนยังใช้หลักสูตรเก่า 55555
ของแข็ง/ ของไหลเรียนครบ 3 สถานะ ของแข็ง ของเหลว แก๊สเรียนสถานะไหนไม่ได้ใจเธออยู่ดี
แก๊ส/ ความร้อนเพราะเนื้อหาเสริมกับวิชาเคมี ใครเก่งบทนี้ เคมีก็ได้เกรด 4 ไปด้วยสูตรเยอะ แบบเยอะจริงๆ จะเยอะไปไหน แทบจะจำเป็นชีววิทยา
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าใจได้ไม่ยาก เพราะผ่านคลื่น + ไฟฟ้า + แม่เหล็ก มาแล้วเนื้อหาเยอะ อ่านแยะ ผิดวิสัยฟิสิกส์ อาจตาลายหน่อยๆ
ฟิสิกส์อะตอมสนุกกับเรื่องเล่าประวัติศาสตร์การค้นพบของมนุษยชาติ เรียนรู้การทดลองที่ทำให้เข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานของสรรพสิ่งจะสนุกกว่านี้ถ้าแค่เล่าเฉยๆ แล้วไม่ต้องคิดเลขสมการอลังการจนจบบท
ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาคได้แหวกเข้าไปดูสิ่งที่เล็กกว่าอะตอม > โปรตอน > นิวตรอน เหมือน Multiverse ที่มนุษย์พยายามรู้จักมันตารางอนุภาคมูลฐาน “บาน” ยิ่งกว่าตารางธาตุในเคมีนะครัช

หวังว่าจะพอเป็นไอเดียและเช็กลิสต์ให้กับน้องๆ ได้นะ 😛 หากใครประเมินว่าตุยแน่เลยย พี่ฟาร์มช่วยปิดจุดอ่อนให้ที !! ก็คลิกดูคอร์สด้านล่างของพี่ได้เลยจ้า

สำคัญที่สุด ขอเป็นกำลังใจในการเตรียมสอบของทุกคนนะ

<3 PFarmmie


กำจัดจุดอ่อน ก่อนสอบฟิสิกส์ TCAS66 Read More »

Preview วิชาฟิสิกส์ ม.ปลาย (ม.ต้นก็อ่านได้ แนะนำครับ)

หลังจากที่ไม่ค่อยได้ขีดเขียนอะไรมานาน วันนี้ ขอกลับมาขีดเขียนอีกครั้งในหัวข้อเบาๆ เป็นแนวทางให้กับนักเรียนและผู้ปกครองนะครับ ว่า “วิชาฟิสิกส์” นี่มันคืออะไร ครอบคลุมเรื่องอะไร และเราจะเรียนไปเพื่ออะไร…

“Welcome to Physics World”

(post นี้เขียนในปี พ.ศ. 2565 ไว้มาดูกันว่าอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปซักแค่ไหน)

วิชาฟิสิกส์ เกิดขึ้นมาจาก “ความต้องการ” หาคำตอบให้กับคำถามต่างๆ ที่เกิดขึ้น จากการสังเกตเหตุการณ์หรือปรากฎการณ์ต่างๆ รอบตัวเรา

คำถามต่างๆเหล่านี้อาจใกล้ตัวเรามาก เช่น คำถามจากการสังเกตต้นมะม่วงหน้าบ้าน ทำไมมะม่วงสุกจึงตกลงสู่พื้น ไม่ลอยขึ้นฟ้า ไปจนถึงคำถามที่ไกลตัวออกไปมากๆ อย่างเช่น ดวงดาวในยามราตรีที่มีมากมาย มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพราะฉะนั้น โลกแห่งวิชาฟิสิกส์ จึงเป็นโลกที่น่าสนุกสนานสำหรับคนที่ช่างสังเกต ช่างสงสัย ต้องการรู้ถึงคำตอบของปริศนาที่น่าท้าทายรอบตัว

ทีนี้ลองกลับไปดูชั้นเรียนวิชาฟิสิกส์ในห้องเรียนประเทศไทยกันนะครับ

(เอาแค่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกันเลยนะ)

เชื่อมั้ยครับว่า… เมื่อเข้าไปถามนักเรียนแต่ละคน กว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด ไม่ชอบ/ไม่อยาก/ไม่โปรด/ไม่เลิฟ/ไม่ไลค์ วิชาฟิสิกส์เอาเสียเลย

ทั้งๆ ที่ธรรมชาติของมนุษย์ เราต่างก็มีความเจ้าสงสัยอยู่ในตัวกันทั้งนั้น… แต่ทำไมน้อยคนนัก ที่จะกระตือรือล้นไปกับการเรียนวิชาฟิสิกส์ ??

เมื่อเราลองมาดูตัว “เนื้อหา” หรือ “รูปแบบการเรียนการสอน” ที่นักเรียนต้องเจอ — โดยนักเรียนหลายคนใช้คำว่าบังคับ/ยัดเยียด/จำใจ/และอีกหลายคำที่เป็นคำศัพท์ด้านลบทั้งนั้น — ก็เป็นหน้าที่ของผู้จัดหลักสูตรการเรียนการสอนนะครับ ว่าจะทำอย่างไรให้นักเรียนรู้สึกดึที่ได้เรียนวิชาฟิสิกส์ ซึ่งถ้ามีโอกาสคุณครูพี่ฟาร์มมี่ก็คงจะวิพากษ์ให้ได้อ่านกันในวันหลังนะครับ

ตามหัวข้อคือ อยากจะแนะนำน้องๆ (โดยเฉพาะเด็กมัธยม) ให้รู้ว่าตลอดชีวิตการเป็นนักเรียน ม. ปลายนั้น เราต้องเจออะไรในวิชาฟิสิกส์ พยายามจะเขียนให้รู้สึกอยากเรียนนะครับ

ถ้าฟิสิกส์คือโลกหนึ่งใบ (ให้เธอคนเดียว…) โลกใบนี้ ก็คงประกอบด้วยห้าทวีปละกัน ได้แก่

  1. กลศาสตร์
  2. คลื่น
  3. ไฟฟ้าและแม่เหล็ก
  4. สสารและความร้อน
  5. มอเดิร์นฟิสิกส์

ได้ยินชื่อกันแล้วก็อย่างเพิ่ง “เหวอ” นะ จริงๆพวกนี้มันไม่ได้มีอะไรน่าหนักใจเลย เป็นของ หรือเหตุการณ์ หรือปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นใกล้ตัวเราทั้งนั้น ลองมาดูกันนะ

1. กลศาสตร์ 🚴‍♀️ 🤹‍♂️

เป็นอาณาจักรแรก และใหญ่ที่สุด (ใช้เวลาเรียนครึ่งหนึ่งของชีวิตนักเรียน ม.ปลายกันเลย) กลศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ แรงและพลังงาน

เริ่มต้นเลย พอขึ้น ม. 4 น้องๆจะได้เรียน “การเคลื่อนที่ในแนวตรง” ลองคิดถึงการเดินทางโดยการขับรถ เอาเป็นจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ก็ได้ ถ้าเรารู้ “ระยะทาง” ที่ต้องขับและสามารถประมาณ “ความเร็ว” ที่เราจะขับได้ เราก็พอที่จะคำนวณหา “เวลา” ที่ต้องใช้ในการเดินทาง เพื่อจะได้นัดเจอกับเพื่อนๆที่เชียงใหม่ (แบบไม่ให้เพื่อนรอเก้อ)

บทต่อมา เราก็คงจะมีคำถามว่า เอ๊ะ แล้วอะไรทำให้เกิดการเคลื่อนที่ ซึ่งคิดดีๆ ก็ตอบได้ไม่ยากเลย ว่าคือ “แรง” นั่นเอง บทที่สองเราจะได้เรียนรู้ว่า แรงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้อย่างไร รวมถึงทำนายได้ว่า ถ้ามีแรงเท่านี้มากระทำกับวัตถุ มันจะทำให้วัตถุเคลื่อนที่มีความเร็วเป็นไปอย่างไร เราจะมีอำนาจที่จะ “ทำนาย” ได้อย่างแม่นยำ

เมื่อแรงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ได้ แรงก็ทำให้เกิด “การไม่เคลื่อนที่” ได้เหมือนกัน ถ้านำแรงมากระทำจนอยู่ใน “สภาพสมดุล” .. นอกจากจะสมดุลแบบไม่เคลื่อนที่แล้ว ยังจะได้เรียนสมดุลแบบที่ทำให้วัตถุ “ไม่หมุน” อีกด้วย ลองคิดถึงตอนเด็กๆ ที่เล่นม้ากระดก ปริมาณที่ทำให้น้องๆกระดกขึ้นที ลงที ก็คือโมเมนต์ ถ้าทำให้มันสมดุลแล้วละก็ คานที่น้องนั่งอยู่ ก็จะไม่กระดก จะบาลานซ์อยู่อย่างนั้นแหละ ลองดูได้

ถัดมาจะได้เรียนเรื่องของ “งานและพลังงาน” นี่เป็นสิ่งที่ค้ำจุนมนุษยชาติอยู่ก็ว่าได้ การผันพลังงานศักย์จากน้ำในเขื่อน มาปั่นกระแสไฟฟ้า การที่เครื่องยนต์สร้างพลังงานจลน์ให้มอเตอร์จนทำให้รถวิ่งได้ และอีกหลายอย่าง ต้องขอบคุณพลังงานเลยนะเน๊๊ยะ

เคยเห็นรถชนมั๊ย โครม โครม โครม ปริมาณที่คอยอธิบายสภาพการเคลื่อนที่ ไปจนถึงการชน ก็คือ “โมเมนตัม” ความเร็วในการเข้าชน เวลาในการเข้าชน จะทำให้น้องๆ สามารถทำนายได้ว่า การชนในครั้งนั้น จะตายหรือจะรอด!

เคยเห็นการเคลื่อนที่แบบอื่นๆกันไหม นอกจากการเคลื่อนที่แนวตรง น้ำพุเด็กยืนฉี่? เป็นการเคลื่อนที่แบบ “โพรเจกไทล์” และการโคจรรอบโลกของดาวเทียม ก็เป็นตัวอย่างของ “การเคลื่อนที่แบบวงกลม” แล้วยังมีนาฬิกาติ๊กตอกโบราณที่ใช้ลูกตุ้มแกว่งไปแกว่งมา ก็เป็นตัวอย่าง “การเคลื่อนที่เป็นฮาร์มอนิกอย่างง่าย” น้องๆจะแยกแยะได้ว่าการเคลื่อนที่ที่เจอในชีวิตจริงเป็นแบบไหน

2. คลื่น 🏄‍♂️🎷📡

เนื้อหากลุ่มนี้ ใช้ความเข้าใจ มีการคำนวณง่ายๆ แค่คูณ หาร บวก ลบ ถ้าใครทำไม่ได้ เสียดายแย่ เวลาทำโจทย์ก็คล้ายๆกับฝึกปัญหาเชาวน์เลย

บทแรก จะสร้างพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับ “ปรากฏการณ์คลื่น” อย่างคร่าวๆ ให้รู้จักว่าคลื่นคืออะไร รูปร่างเป็นอย่างไร เคลื่อนที่ยังไง มีสมบัติอะไรบ้าง (สะท้อน หักเห เลี้ยวเบน แทรกสอด) บทนี้ถ้าเทียบบัญญัติไตรยางค์เป็นก็ไม่ต้องใช้สูตรก็ได้

ถัดไป จะเป็นบทที่เนื้อหาเยอะมาก นั่นคือเรื่อง “แสง”​ เนื้อหาเยอะมากจนในหลักสูตรใหม่ เขาแบ่งบทนี้ออกเป็นสองบทย่อย นั่นคือ “แสงเชิงคลื่น” กับ “แสงเชิงรังสี” 

แสงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ มนุษย์เราก็มองเห็นได้เพราะมีแสง น้องๆ จะได้เรียนรู้กลไกการมองเห็น การเกิดภาพ การใช้งานทัศนอุปกรณ์ต่างๆ (พวกกระจกกับเลนส์) เนื้อหาหนักๆ น่าจะเป็นการศึกษาสมบัติของแสง (สะท้อน หักเห เลี้ยวเบน แทรกสอด อีกแล้วครับท่าน) เห็นมะว่าเนื้อหาค่อนข้างจะมีจุดซ้ำกันเยอะกับเรื่องคลื่น ตั้งใจเรียนเสียหน่อย ทำโจทย์ได้สบายเลย

บทส่งท้ายของอาณาจักรคลื่นก็คือเรื่อง “เสียง” เป็นอะไรที่เราเจออยู่ทุกวัน ก็น่าจะรู้เกี่ยวกับมันหน่อย ว่าเกิดจากอะไร ส่งผ่านยังไง มีสมบัติอะไรบ้าง (ก็สะท้อน หักเห เลี้ยวเบน แทรกสอด คุ้นๆ มะ ซ้ำกับข้างบนไง) ใครจะไปประกวดเดอะวอยซ์หรือกอตทาเลนต์ ก็ตั้งใจเรียนบทนี้ให้ดีนะ 555

3. ไฟฟ้า 🔋💡

ถ้าไม่มีศาสตร์ด้านนี้ เราคงไม่มีอุปกรณ์สร้างความสะดวกสบายต่างๆใช้งานกันแน่ๆ ไหนๆมันมีประโยชน์กับเราซะขนาดนี้ ไม่เรียนรู้เกี่ยวกับมันเสียหน่อย ก็คงไม่ดีมั๊ง

บทแรก จะสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับไฟฟ้า คือบท  “ไฟฟ้าสถิต” เวลาเราเอาไม้บรรทัด ถูกับผมเรา แล้วพบว่ามันพอที่จะดูดกระดาษติดได้ นั่นแหละ ไฟฟ้าสถิต นอกจากนี้เราก็จะได้เรียนเกี่ยวกับแรงไฟฟ้า สนามไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า และตัวเก็บประจุ อุปกรณ์ตัวนี้สำคัญกับเรามาก ไม่งั้นคงไม่มีคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายให้ใช้กันในทุกวันนี้หรอก

หลังจากเรียนบทแรกไป ก็จะต่อด้วย “ไฟฟ้ากระแสตรง” ตอนม.3 คงพอจำได้ เราได้เรียนเกี่ยวกับกฎของโอห์ม มีการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า (แบบเบาๆ) แต่พอม.ปลาย ก็คงต้องอัพเกรดความยากขึ้นหน่อย แต่ถ้ามีเทคนิคดีก็ผ่านไปได้ไม่ยาก แล้วก็จะได้เรียนเกี่ยวกับอุปกรณ์วัดทางไฟฟ้า การคิดค่าไฟฟ้า สารพัดอีกมากมาย

จากนั้นจะไปแวะเรียนเนื้อหาเกี่ยวกับ “แม่เหล็กและไฟฟ้า” ทั้งไฟฟ้าและแม่เหล็กนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด น้องๆคงเคยใช้แม่เหล็ก มาดูดเหล็กหรือโลหะเล่นๆกันใช่ไหมครับ นี่แหละ เราจะได้เจาะลึกมากขึ้นเกี่ยวกับแม่เหล็ก จะรู้ว่าทำไมมันแสดงอำนาจไปดูดคนนั้นคนนี้ได้

มีแถมมานิดนึงคือน้องๆ จะได้เรียน “ไฟฟ้ากระแสสลับ” ด้วย อันนี้อาจดูยากหน่อย แต่ข่าวดีคือ หลักสูตรใหม่ตัดเนื้อหาบทนี้ออกซะเหี้ยนเลย แล้วเอาไปรวมอยู่เป็นเนื้อหาเรื่องเล็กๆ ในบทก่อนหน้า (บทแม่เหล็ก) เป็นไฟฟ้าที่ใช้ส่งไปมาจากโรงผลิตไฟฟ้าเข้าสู่บ้านเรือน ไฟฟ้าของจริงที่ใช้ในชีวิตประจำวันเยอะมาก ต้องรู้เกี่ยวกับมันซักหน่อยแล้ว ^^

4. สสารและความร้อน 🧨🛫

เนื้อหากลุ่มนี้ สูตรเยอะ เวลาเรียนต้องเน้นจำให้เป็นระบบ ไม่งั้นแย่แน่

บทแรก จะศึกษาเกี่ยวกับสมบัติเชิงกลของของแข็งและของไหล โดยเนื้อหาส่วนแรกจะพาไปศึกษา “ของแข็ง” ในแง่ของสภาพยืดหยุ่น เผื่ออีกหน่อยต้องเลือกวัสดุมาก่อสร้าง จะได้ดูออกว่าอันไหนอ่อนไป แข็งไป ยืดง่าย ยืดยาก ทนแรงรับแรงได้ไหวไหม

เนื้อหาส่วนถัดไปของบทนี้ จะเอา ของเหลว และ แก๊ส มารวมกัน เรียกว่า “ของไหล” เราจะศึกษาพฤติกรรมของของไหลในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความดัน แรงดัน เครื่องอัดไฮดรอลิก (ช่วยให้เรายกของที่หนักกว่าเราหลายสิบหลายพันเท่าได้ เออ ทำไมหว่าาาา) และเราจะตอบคำถามได้ว่า ทำไมเครื่องบินจึงบินขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ (สงสัยไหม)

ปิดท้ายด้วย “แก๊สและความร้อน” ที่ต้องเรียนความร้อนเพราะความร้อน เป็นสิ่งที่ทำให้วัถตุเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะได้ ความรู้ด้านความร้อนนี้เองที่นำไปพัฒนาต่อยอดเป็นเครื่องยนต์ เป็นตู้เย็น เป็นเครื่องจักรกลต่างๆ  เราจะได้เรียนการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้ ว่ามันทำให้ร้อน ทำให้เย็น ได้ยังไงกัน

5. มอเดิร์นฟิสิกส์ ⚛️ 🧲

เป็นศาสตร์น้องใหม่ (จริงๆก็ตั้งเค้ามานานแล้ว แต่มามีพัฒนาการก้าวกระโดดไม่กี่สิบปีให้หลังนี้) จะมีเนื้อหาคาบเกี่ยวกับเคมีด้วย ตั้งใจเรียนดีๆ จะได้เคลียร์วิชาเคมีไปในตัว

บทแรกจะเรียนเกี่ยวกับ “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” จริงๆเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง (น่าจะถูกจับไปอยู่ในเรื่องคลื่น) แต่เนื่องจากต้องใช้สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กในการศึกษา จึงถูกนำมาให้น้องๆเรียน หลังจากเรียนไฟฟ้าครบแล้ว

บทถัดไปคือ “ฟิสิกส์อะตอม” ศึกษาเกี่ยวกับอะตอม (เอ๊ะ ก็ซ้ำกับบทโครงสร้างอะตอมในวิชาเคมีสิ) จะว่าซ้ำก็ซ้ำนะ แต่เราเรียนลึกกว่า และมีการคำนวณหาปริมาณต่างๆทางไฟฟ้าและแม่เหล็กประกอบกันไปด้วย รวมถึงเรียนเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ๆ ที่เพิ่งค้นพบไม่นานมานี้ จำไว้ว่า “ความเข้าใจในสิ่งเล็กน้อย (อะตอม) จะนำไปสู่ความเข้าใจในสิ่งที่ยิ่งใหญ่” 

พอแหวกดงอะตอมเข้ามาก็จะเจอกับใจกลางอะตอมที่เรียกว่า นิวเคลียส บทปิดท้ายของฟิสิกส์ ม.ปลาย เราจะเรียนเกี่ยวกับมันนี่แหละ วิชา “ฟิสิกส์นิวเคลียร์” ใครไม่สนใจก็ไม่อินเทรนด์แล้ว เพราะว่าแหล่งพลังงานบนโลกเรา เริ่มมีการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้กันหลายประเทศแล้ว เราจะได้เรียนว่าพลังงานนิวเคลียร์คืออะไร แล้วใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง อันตรายมากน้อยขนาดไหน 

แถมให้กับเรื่องสุดท้ายของท้ายสุด “ฟิสิกส์อนุภาค” เนื้อหาที่เพิ่งบรรจุลงหลักสูตรหมาดๆ (เมืองนอกเขาสอนกันมาหลายปีแล้ว ในที่สุดก็ถึงคิวประเทศไทย) เราจะเข้าไปศึกษาอนุภาคที่เป็นสิ่งพื้นฐานที่สุดที่ประกอบขึ้นมาเป็นอนุภาคต่างๆ อีกทีนึง เช่น พอเราแหวกนิวเคลียสดู เราจะพบกับโปรตอนและนิวตรอน แล้วถ้าแหวกโปรตอนกับนิวตรอนลงไปอีกล่ะ ! โอ้แม่เจ้า ยังมีอนุภาคที่เล็กลงไปกว่านั้นอีกเหรอ ?? .. ใช่.. นั่นเราจะเจอกับ ควาร์ก ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของอนุภาคมูลฐานของจักรวาลนี้ เจ๋งสุดๆ ไปเลยใช่มั๊ยล่ะ


นี่ก็เป็นน้ำจิ้มคร่าวๆ เหมือนเป็นแผนที่การเดินทางคร่าวๆ ที่บอกว่าตลอดสามปีเราจะเรียนอะไรบ้างในวิชาฟิสิกส์นะครับ อ่านๆไปก็อย่าเพิ่งตกใจนะ เรามีเวลาสามปี ที่จะค่อยๆเรียนเนื้อหาเหล่านี้ เทียบกับ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา ที่ต้องเรียนแล้ว ของฟิสิกส์นี่จิ๊บๆที่สุดเลย

คราวหน้าพี่ฟาร์มจะบอกเคล็ดลับว่า เราจะเรียนทั้งหมดนี้ให้ “ได้เรื่อง” กันได้อย่างไร ต้องติดตามนะคร้าาาาบ ^_^

Preview วิชาฟิสิกส์ ม.ปลาย (ม.ต้นก็อ่านได้ แนะนำครับ) Read More »

Physics Slayer จัดโปร+ ใช้โค้ด Farmmie_May รับส่วนลด 2,100 บาท ด่วน! 100 สิทธิสุดท้าย

X