Study advices
ติวไฟท์ไฟนอล ม.5 แสงเชิงรังสี
Update ชีทน้า ขอแก้ไข หน้าที่ 9 โจทย์ข้อ 6 ปรับตัวเลขรูปภาพประกอบโจทย์จ้า
ติว.ฟิต.มิดเทอม ม.5 การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก
ติว.ฟิต.มิดเทอม ม.5 ซิมเปิลฮาร์มอนิก
ม.5 มาคว้าเกรด 4 ฟิสิกส์ เตรียมสอบมิดเทอมนี้ กันกับ… พี่ฟาร์มมมมมม เย่ๆๆ! …
#ติวฟรี#ติวมิดเทอม ของ น้อง ม.5 ในบท ฮาร์มอนิคอย่างง่าย (ซิมเปิลฮาร์มอนิก) กับสี่ไฮไลท์สำคัญ ที่ออกสอบทุกสนาม
-ลักษณะการสั่นแบบซิมเปิลฮาร์มอนิก
-กราฟ&เฟส
-สมการการเคลื่อนที่
-การแกว่งตุ้มและการสั่นสปริง
จะดูเพื่อเตรียมสอบ #TCAS#Alevel ก็เนื้อหาเดียวเป๊ะเลยนาจา ขอให้ได้เกรด 4 กันถ้วนหน้าเด้ออออออ
ติว.ฟิต.มิดเทอม ม.4 การเคลื่อนที่แนวตรง
มิดเทอมนี้ ฟิสิกส์ฉันต้องปัง เกรดต้องไม่พัง เพราะฉัน..ติวกับ… พี่ฟาร์มมมมมม เย่ๆๆ! … มาแล้วจ้ากับงาน #ติวฟรี#ติวมิดเทอม ของ น้อง ม.4 ในบท การเคลื่อนที่แนวตรง กับ 5 ไฮไลท์สำคัญที่ออกสอบทุกสนาม
- ปริมาณการเคลื่อนที่
- เครื่องเคาะสัญญาณเวลา
- สมการการเคลื่อนที่
- กราฟการเคลื่อนที่
- การตกอิสระภายใต้แรงโน้มถ่วง
Download ชีทเรียนที่นี่เลย
จะดูเพื่อเตรียมสอบ #TCAS #Alevel ก็เนื้อหาเดียวเป๊ะเลยน้าาาา ขอให้ได้เกรด 4 กันถ้วนหน้าจ้า
[Breaking News] NANOGrav ประกาศการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงความถี่ต่ำ
NANOGrav ประกาศการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงความถี่ต่ำ
แล้วคลื่นความโน้มถ่วงคืออะไร??

เมื่อวัตถุมวลมหาศาลอย่างหลุมดำหรือดาวนิวตรอนที่โคจรวนรอบกันและกัน ก่อให้เกิดแรงดึงดูดของวัตถุอย่างสุดโต่ง จนพาดาวให้เข้ามาชนและรวมตัวเข้าด้วยกันในที่สุด
เหตุการณ์แบบนี้จะทำให้พลังงานมหาศาลถูกปลดปล่อยออกมา เกิดเป็นคลื่นความโน้มถ่วงที่แผ่ออกไปในจักรวาลทุกทิศทางเหมือนระลอกคลื่นในน้ำ

สิ่งนี้เป็นเพียงจินตนาการจนเมื่อปี 2015 ทีมนักวิจัย LIGO สามารถตรวจจับเจ้าคลื่นนี้ได้ที่ความถี่สูง นำไปสู่ความก้าวหน้าในการศึกษาทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ใหม่ๆ ตามมาอีกมากมาย
และในวันนี้เราก็ได้พบกับคลื่นความโน้มถ่วงอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ “คลื่นความโน้มถ่วงความถี่ต่ำ”
ถ้านึกไม่ออกถึงความพิเศษนี้ ลองคิดเป็นคลื่นเสียงดูก็ได้ คลื่นเสียงที่ความถี่สูง ก็เหมือนเสียงนักร้องชายหญิงที่เราได้ยินกันคุ้นหู ส่วนเสียงความถี่ต่ำคือเสียงฮัมหึ่มๆๆ เสียงเบสทุ้มๆ นั่นเอง
การค้นพบนี้ทำให้เรารู้ว่าทั่วทั้งเอกภาพมีคลื่นตัวนี้อยู่ จินตนาการเอาเหมือนเป็นเสียงเพลงจากพระเจ้าคอยฮัมขับกล่อมเราอยู่ทั่วเอกภาพ
ความต๊าซของ Nanograv ในการจับคลื่นตัวนี้ได้มันอยู่ที่การใช้ประโยชน์จากพัลซาร์ Pulsar ในการตรวจวัด
พัลซาร์ เป็นดาวนิวตรอน ที่เกิดหลังจากดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ตายลงแล้วยุบตัวทำให้มีความหนาแน่นสูงมากๆๆๆๆ และหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงปรี๊ด พร้อมกับแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา

เวลาที่มันหันด้านที่มีคลื่นรุนแรงเข้าหาโลกเรา เครื่องมือบนโลกก็วัดการวาบพุ่งของรังสีนี้ได้ พอมันหมุนหันไปทางอื่น รังสีที่วัดได้ก็น้อยลง พอด้านเดิมหันกลับมา เราก็จะเจอกับการวาบพุ่งของรังสี ทำให้เจอการ วาบ-วูบ-วาบ-วูบ เป็นจังหวะ ซึ่งจังหวะของมัน “เป๊ะ” มากๆ จนนักดาราศาสตร์เอามาใช้เป็นนาฬิกาบอกจังหวะที่มีความแม่นยำสูง
ที่นี้พอเกิดเหตุดาวยักษ์หรือหลุมดำสองดวงจะชนกัน จนมีคลื่นความโน้มถ่วงกระเพื่อมออกมา เจ้าคลื่นนี้จะทำให้ผืนอวกาศบิดเบี้ยว ถ้าการบิดเบี้ยวนั้นมาเกิดกับจังหวะที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากพัลซาร์กำลังส่งมายังโลก มันก็จะไปรบกวนการส่งนี้ ทำให้วัดจังหวะ วาบ-วูบ-วาบ-วูบ ได้ช้าลง (แต่คือดีเลย์น้อยมากกกก ขนาดนาโนวินาทีเท่านั้น)

ความเริศก็คือ Nanograv เค้าวัดสิ่งที่เล็กน้อยขนาดนี้ออกมาได้ โดยศึกษาจากพัลซาร์ถึง 68 แห่ง ใช้เวลารวบรวมข้อมูลถึง 15 ปี (มีลูกก็ลูกโตเลยค่ะ) จนได้ข้อสรุปว่าสิ่งที่มาบิดเบี้ยวกาลอวกาศจนทำให้พัลซาร์มีจังหวะเพี้ยนไปเสี้ยววินี้คือ “คลื่นความโน้มถ่วงความถี่ต่ำพิเศษ”
สิ่งนี้จะเปิดประตูสู่การศึกษาปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ใหม่ๆ อีกล้านแปดอย่าง รอเรียนกันเลยค่ะวิ
อร้ายยยย น่าตื่นเต้นดีใจอะไรอย่างนี้
วิทยาศาสตร์จงเจริญ
ฟิสิกส์จงเจริญ
เล่าสู่กันฟังด้วยความตื่นเต้นปลื้มปิติที่สิ่งนี้เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของฉันนนนนนนน คริคริ
กลอนฟิสิกส์วันสุนทรภู่
#วันสุนทรภู่ ทั้งที พี่ขอแจก “บทกลอน” ร่ายคาถา แก้มนตรา “ตกฟิสิกส์” กันหน่อยนะคะ สวดกันวนไปค่ะ~ ม่ะ! เริ่ม!
———
อันฟิสิกส์วิทยาเหมือนอาวุธ
ทั้งแรงฉุด.. แรงดัน.. นิวตันจ๋า..
เทอมนี้แหละ น้องข้า จะคว้าชัย !!
ขอเกรดสี่…. จงมี แด่ทุกท่าน
จะมิดเทอม ไฟนอลกัน ก็รับไหว
เพียงฝึกฝน ทำโจทย์ ให้เพลินใจ
เรียนสนุก ความรู้ได้ “ฟิสิกส์ฟาร์ม”
———
.
~นางผีเสื้อสมุทร เอ๊ยยย ติวเตอร์ฟิสิกส์คนนี้ ก็ขอเป็นอีกแรงใจให้น้องๆ แผ้วพานจากวิชาแสนยากอย่างฟิสิกส์นะคะ ~!!

เรียนรู้เรื่องแรงดันน้ำจากข่าวยานดำน้ำไททัน
ขอแสดงความเสียใจกับข่าว #ยานดำน้ำไททัน นะครับ โดยหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ แถลงคอนเฟิร์มการเสียชีวิตของผู้ที่อยู่ในยานในช่วงเช้านี้ จากข่าว ระบุว่า “ตัวยานระเบิด” เนื่องจาก #แรงดันน้ำมหาศาล ใต้มหาสมุทร…
พี่ฟาร์มอยากจะขอหยิบข่าวนี้ มาเป็นทั้งอุทธาหรณ์และทบทวนความรู้ของน้องๆ ไปพร้อมกันนะ
เราคุ้นเคยกับ #แรงดันน้ำ ตามประสบการณ์ แค่ว่ายในสระน้ำส่วนที่ “ลึก” กับ “ตื้น” – เรายังรู้สึกสบายตัวต่างกัน – ว่ามั้ย แล้วกับการดำดิ่งลงไปใต้มหาสมุทรที่ลึกเบอร์นั้นล่ะ?
และในชั้น ม.ต้น ช่วง ม.2-3 เราได้เรียนสูตรการหาความดันมาบ้างแล้ว ทบทวนแบบเข้มๆ อีกทีช่วง ม.6 เทอม 1 (แถม~!! เป็นข้อสอบเข้าปีเว้นปีเลย)
แม้จะยืนยันไม่ได้ว่าการระเบิดเกิดขึ้น ณ จุดไหน เวลาใด แต่สาเหตุหลักๆ ที่เขาจะฟ้องกันต่อไปคือ “สเปค” ของยานดำน้ำนี้ มันไม่เหมาะจะลงไปลึกขนาดนี้ตั้งแต่แรกแล้ว ถ้ามีความรู้มากมาย… แต่สุดท้ายประมาท { วิศวกรผู้เกี่ยวข้อง บริษัทในวงการเหล่านี้ ย่อมรู้ฟิสิกส์สิ !!! } ย่อมส่งผลเสียหายร้ายแรงเกินกว่าใครจะมาจ่ายไหว
– เรียนไปคิดไป ใช้ชีวิตไม่ประมาทกันครับผม –
ด้วยรักจากครูฟาร์ม

วิธีคิดคือ
- กำหนดให้ความดันบรรยากาศด้านบนมีค่าน้อยกว่าความดันคำตอบ จนละทิ้งได้
- กำหนดความหนาแน่นน้ำทะเลเป็นค่าคงที่ เพื่อความง่ายในการคำนวณในระดับชั้น ม. ปลาย
Fact : ความหนาแน่นน้ำทะเลมีค่าขึ้นกับหลายปัจจัย
a. อุณหภูมิ : ยิ่งลึกลงไปใต้ทะเล น้ำทะเลจะมีอุณหภูมิลดลง (เย็นลง) โดยปกติ น้ำเย็นจะมีความหนาแน่นสูงกว่าน้ำอุ่นอยู่แล้ว ทำให้ยิ่งลึก ความหนาแน่นยิ่งสูง
b. ความเค็ม : คือความเข้มข้นของเกลือที่ละลายในน้ำ โดยทั่วไปความเค็มที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ความหนาแน่นเพิ่มตาม
c. ความดัน : ยิ่งลึกลงไป ความดันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อนุภาคต่างๆ ถูกบีบอัดให้ชิดกันเข้ามา ทำให้ความหนาแน่นเพิ่มขึ้น (แต่ก็เล็กน้อยมาก)
ผลจากปัจจัยทั้งสาม ทำให้น้ำทะเลแต่ละแห่งมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน แต่เพื่อความง่ายในการเรียนระดับม.ปลาย โจทย์มักจะกำหนดความหนาแน่นให้เป็นค่าคงที่ค่าหนึ่งไปเลย

ความดันเนื่องจากน้ำหนักของไหลกดทับ เรียกว่า #ความดันเกจ (Gauge Pressure : Pg) แต่จริงๆ ความดันทั้งหมด เกิดจากทั้งของเหลว(น้ำทะเล) และอากาศกดทับลง ความดันนี้เรียกว่า #ความดันสัมบูรณ์ (Absolute Pressure : Pab) จะได้ว่า Pab = Pg + Pair
แต่เพื่อความง่ายในการคำนวณของน้องๆ พี่ฟาร์มขอละ Pair เนื่องจากมีค่าน้อยกว่า Pg มากๆ นะครับ

ที่ระดับน้ำทะเล ความดันอากาศมีค่า 1×10^5 Pa หรือ 0.1 MPa
ที่ระดับลึกลงไป 3,800 เมตร ความดันอากาศมีค่าประมาณ 38 MPa
ความต่างนี้โหดร้ายมาก มากถึง 38/0.1 = 380 เท่า
นึกภาพความสบายผิวสบายตัวเวลาไปเล่นน้ำแถวชายหาดที่ระดับน้ำทะเล (นั่นคือ 0.1 MPa) แล้วจินตนาการต่อว่ามีความดันมากดทับกว่านั้นขึ้นไปเกือบๆ 400 เท่า.. โอ๊ยไม่อยากจะคิด น่าสะพรึงมาก

การระเบิดจากการบีบอัดจากภายนอกเข้าไปแบบนี้ เรียกว่าการระเบิดแบบ Implosion
(ตรงข้ามกับการระเบิดแบบปกติที่เราคุ้นเคย เป็นการระเบิดที่ดันออกมาจากภายใน Explosion)
ตอนนี้มีภาคต่อเรื่อง Exposion ติดตามได้น้า
#dek67#tcas67#alevel67#dek68#tcas68#alevel68#ฟิสิกส์มอปลาย#ฟิสิกส์ฟาร์ม#physicsfarm#เรียนพิเศษ#กวดวิชา#tcas#alevel#ฟิสิกส์เอเลเวล#physicsalevel#studygramthailand
เตรียมตัวอย่างไรในวิชาฟิสิกส์ กับชั้นปี ม.5 ที่หนักหนาขึ้น
– เปิดเทอม ม.5 มาได้สักพักแล้ว ปีนี้เป็นปีที่หนักหนาสำหรับชีวิตการเป็นเด็ก ม.ปลาย พอสมควรเลย หลังจากผ่าน ม.4 ไปหนึ่งปี ความลั้ลลาแบบเฟรชชี่กำลังจะต้องเปลี่ยนเป็นความเข้มข้นขึ้น –
พี่ฟาร์มมองว่า ภารกิจของน้องๆ ม.5 มีด้วยกันอยู่ 3 ด้านหลักๆ ที่จะต้องเตรียมตัวกันและทำให้สำเร็จในปีนี้ (ถ้าทำได้) อย่างแรกที่ต้องโฟกัส คือ
1. ด้านการค้นหาตัวเอง
ตอน ม.4 เราเน้นไปที่การปรับตัวจาก ม.ต้น มาสู่ ม.ปลาย พอมา ม.5 เราจะเริ่มมองเรื่องโอกาสในการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยกันแล้ว
การค้นหาความฝัน แรงบันดาลใจ และเป้าหมายที่ต้องการพิชิต เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เราค้นพบว่าเราอยากเรียนต่อด้านไหน เป็นโจทย์ใหญ่ของชีวิตเลยนะ และเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยกำหนดทิศทางในการเตรียมตัวสอบตอน ม.6 นี่จึงเป็นภารกิจสำคัญของน้อง ม.5 นะจ๊ะ ใครสนใจพี่มีตัวช่วย ตามลิงค์นี้ไปกันได้เลย ……
ต่อมา ม.5 ต้องโฟกัสมากๆ เรื่องของการ …
2. บริหารจัดการเวลา
ม.5 มักจะได้เป็นตัวหลักในการจัดกิจกรรมของโรงเรียน เน้นๆ เลยก็คือกีฬาสี ที่แต่ละโรงเรียนทุ่มเทจัดเต็มอลังการกันทุกปีๆ กิจกรรมหลายๆ อย่าง มักต้องการเวลาจากน้องๆ
ดังนั้นถ้าเราแบ่งเวลาไม่ดี เราจะเหลือเวลาให้กับการสั่งสมความรู้ทางวิชาการไม่เพียงพอ แล้วจะกระทบต่อภารกิจอย่างที่ 3 นั่นคือ..
3. ภารกิจทางวิชาการ
เนื้อหาแทบทุกวิชาของ ม.5 หนักขึ้นหมดเลย เมื่อเทียบกับ ม.4 ที่เขามักจะให้เรียนเป็นตัวพื้นฐาน ตัวตั้งต้น ของพวกเรา ม.5 คือเป็นตัวอัดตัวจัดเต็ม และวันนี้เราจะมาพูดถึงวิชาการของฟิสิกส์ ม.5 ว่าน้องๆ จะเจอกับอะไรบ้าง หนักหนาขนาดไหน ควรเตรียมตัวยังไงให้เราผ่านมันไปได้และประสบผลสำเร็จ
ฟิสิกส์ ม.5 จะเน้นต่อยอดเนื้อหาจากความรู้ทางกลศาสตร์ ม.4 (เรียนกลศาสตร์ไป 7-8 บทแล้วนี่เนอะ)

เปิดเทอมมา เราจะเรียนกลศาสตร์บทสุดท้าย คือ การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย (ที่อาจจะไม่ง่ายสมชื่อเท่าไร)

บทนี้จะพูดถึงการสั่นกลับไปกลับมาซ้ำรอยเดิม ซึ่งเป็นวิธีการเคลื่อนที่หนึ่งที่พบได้ในหลายๆ ตัวอย่าง เช่น การสั่นสปริง การแกว่งตุ้ม
เนื่องจากมีการสั่นซ้ำไปซ้ำมา จึงสามารถแสดงฟังก์ชันการเคลื่อนที่ออกมาได้เป็นฟังก์ชันไซน์ ฟังก์ชันโคไซน์ ทำให้บทนี้ต้องอาศัยความรู้เรื่องสมการตรีโกณมิติเข้ามาอธิบาย ใครอ่อนเลขบทนี้ต้องเสริมความรู้สักหน่อย จะเรียนบทนี้ได้คล่องได้สบายขึ้นเยอะเลย
บทถัดๆ มา จะเริ่มนำกลศาสตร์ไปต่อยอดเพื่ออธิบาย “ปรากฎการณ์คลื่น” กันแล้ว

เริ่มจากบท คลื่น หลักๆ บทนี้เน้นให้เราทำความรู้จักว่าคลื่นคืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง และมีพฤติกรรมอย่างไร (สะท้อน หักเห เลี้ยวเบน แทรกสอด คลื่นนิ่ง) ความยากของมันอยู่ที่ว่า ในธรรมชาติคลื่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วแผ่ออกไป นั่นคือมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา แต่พอมาอยู่ในตำรา เราวาดแสดงมันได้เพียงแค่ภาพนิ่ง ดังนั้นเราต้องตีความภาพนิ่งออกมาเป็นความเข้าใจที่ “เคลื่อนไหว” แรกๆ ที่เรียนยังไม่คุ้นเคย อาจพบว่ายาก แต่พอเข้าใจแล้ว จะพบว่าบทนี้เป็นอีกบทที่คว้าคะแนนสอบมาได้ไม่ยากเลย ขอให้ทำความเข้าใจ “พฤติกรรม” ของมันให้ดี
สองบทถัดมา เราจะเรียนเกี่ยวกับ “แสง”
เนื่องจากเนื้อหาเกี่ยวกับแสงมีเยอะมาก ในหลักสูตรใหม่จึงแบ่งมันออกเป็นสองบท ตามวิธีการอธิบายแสง
บทแรกจะเป็น “แสงเชิงคลื่น” ใช้อธิบายพฤติกรรมแสงตอนแสดงการเลี้ยวเบนหรือแทรกสอด เนื้อหาจะเน้นไปที่การใช้งานอุปกรณ์ช่องคู่ ช่องเดี่ยว และเกรตติง มาแสดงสมบัติการแทรกสอด/เลี้ยวเบน ให้น้องๆ วิเคราะห์การทดลอง ถ้าได้ทำการทดลองในห้องเรียนจะดีมากๆ เลย เพราะจะเห็นภาพจริงๆ ว่าแสงเลี้ยวเบน/แทรกสอดออกมามีลักษณะอย่างไร มันจะเสริมความเข้าใจได้แบบแจ่มแจ้งและจำไม่รู้ลืมเลยเธออออ

บทถัดมาจะเป็น “แสงเชิงรังสี” จะเน้นไปที่การอธิบายรังสีของแสงที่ทำให้เกิดภาพ ทำให้เรามองเห็นได้ และการใช้งานกระจกและเลนส์ ซึ่งอธิบายได้ด้วยสมบัติการสะท้อนและหักเหของแสง รวมไปถึงปรากฎการณ์ทางแสงต่างๆ ที่เกิดจากการสะท้อน/หักเห นี้ด้วย

เมื่อเทียบกับ ม.4 เทอม 1 ที่เรียนสามบทแบบชิลๆ ใน ม.5 เทอม 1 การเรียน 4 บทขนาดใหญ่แบบนี้จึงถือว่าเป็นการอัดเนื้อหาพอสมควร
ปัญหาที่เจอคือเวลาเรียนมักจะไม่พอ เพราะหัวข้อย่อยของบทเรียนทั้งสี่รวมๆ กันแล้วมีเยอะมาก แถมชีวิตเด็ก ม.5 ยังต้องทำกิจกรรมเยอะมากๆ อีก พี่จึงเป็นห่วงน้องๆ เรื่องการแบ่งเวลามากๆ เลยนะ
ยังไงเทอมนี้มันจะแน่นๆ ตึงๆ (และจะแน่นขึ้นไปอีกในเทอม 2 นะ) ขอให้ตั้งสติรับมือกับมันให้ดี
ถ้าเราวางแผนการจัดการไว้ดี พี่ว่าน้อง “เอาอยู่” แน่นอน
ม.5 แม้จะเป็นปีที่เหนื่อย แต่ก็จะเป็นปีที่สนุกมากๆ เลย ในความทรงจำของพวกเรา
ในชีวิตน้อง น้องจะผ่าน ม.5 ได้แค่รอบเดียวนะ ดังนั้นใช้ให้คุ้ม WORK HARD, PLAY HARD จุกๆ ไปเลยข่าาาา
พี่ฟาร์มส่งกำลังใจให้นะคะ
With Love.