fbpx

Study advices

Pierre-Simon Laplace | ลาปลาซแห่งฝรั่งเศส

22 ปี หลังจากเซอร์ไอแซค นิวตัน ได้จากโลกนี้ไป ใน ค.ศ. 1749 ได้มีเด็กคนหนึ่งเกิดมา เพื่อจะกลายเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งโลกวิชาการ คนที่ทั่วทั้งยุโรปจะเรียกเขาว่า “#นิวตันแห่งฝรั่งเศส

.

ใช่ค่ะ เรากำลังพูดถึง Pierre-Simon Laplace หรือคุณ #ลาปลาซ ผู้เป็นตำนานแห่งพหูสูตชาวฝรั่งเศส ทั้งวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ คือ เก่งไปทุกวงการเลยจริงๆ ค่ะ

.

ย้อนกลับไปในวันที่ 23 มีนาคม 1749 เด็กชายเกิดมาที่เมืองนอร์มังดี ครอบครัวมีคุณพ่อเป็นเจ้าของฟาร์มเล็กๆ ที่ตั้งอยู่บนที่ดินของขุนนาง (มาร์ควิส) แถมเป็นพ่อค้าแอปเปิลไซเดอร์รายได้ดี ส่วนคุณแม่ก็ช่วยทำเกษตร ฐานะทางบ้านเรียกได้ว่าไม่ขัดสนอะไร

.

เด็กชายลาปลาซเติบโตขึ้น และได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่คุณพ่อตั้งใจจะให้ลูกชายโตไปเป็นนักเทศน์ในโบสต์คาธอลิก เลยส่งไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยก็องแห่งนอร์มังดี ด้านศาสนศาสตร์ และที่นี่เอง โชคชะตาแห่งคณิตศาตร์ของเขาได้เริ่มต้นขึ้น

.

ตอนเรียนมหาวิทยาลัยคุณลาปลาซได้เจอกับอาจารย์คณิตศาตร์สองท่าน คือ อ.Christophe Gadbled และ อ.Pierre Le Canu

.

ทั้งสองเป็นคนสอนที่มีความกระตือรือร้นมาก สอนไปสอนมาก็เลยพบช้างเผือกเข้า นั่นคือพบว่าคุณลาปลาซเรียนรู้ได้เร็วและเข้าใจเรื่องยากๆ โหดๆ ได้ง่ายๆ เลย

.

การเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องไปยัดไปบังคับ (อยากเรียนรู้โหมดนี้กะเค้าบ้างน่ออออ) ไม่ทันไร คุณลาปลาซก็เริ่มที่จะเขียนเปเปอร์ทางคณิตศาสตร์เองได้

.

เอ๊ะ! เดี๋ยวนะคะ มาเรียนเป็นนักเทศน์ ไหงตอนนี้พบรักกับคณิตศาสตร์ไปซะแล้วววว

.

คุณลาปลาซได้เขียนบันทึกความรู้ทางคณิตศาตร์ที่ไปเข้าตานักคณิตศาตร์มืออันดับต้นๆ ของโลกในยุคนั้นอย่างคุณลากรอง ซึ่งตอนนั้นแกโด่งดังถึงขั้นเป็นผู้ออกพิมพ์หนังสือ journal วิชาการเอก

.

และงานของคุณลาปลาซก็ได้รับเลือกให้ตีพิมพ์ลงในนิตยสารของคุณลากรอง เรื่องราวโด่งดังไปทั่วฝรั่งเศส แต่ทางโบสถ์เองก็ไม่ค่อยปลื้มนะคะ การเลือกเดินทางสายคณิตศาตร์มันทำให้โบสถ์สูญเสียคนเก่งไปนี่เนอะ

.

อ.Pierre Le Canu เห็นถึงความปังปุริเย่ของศิษย์ตัวเอง จึงอยากให้คุณลาปลาซได้เฉิดฉายกว่านี้ (พระคุณครูจริงๆ ค่ะ) จึงได้เขียนจดหมายแนะนำตัวให้คุณลาปลาซเข้าไปเรียนต่อยังกรุงปารีส ซึ่งคนที่ อ.Canu เขียนถึงคือคุณ d’Alembert (ดาล็องแบร์ คนไทยชอบอ่านเป็นดีแลมเบิร์ท แหะๆ) ซึ่งคนนี้คือเจ้าพ่อคณิตศาตร์-วิทยาศาสตร์ของฝรั่งสมัยนั้นเลยค่ะ

.

ไปถึงก็แบบ เอ๊ะ อิเด็กน้อยนี่อายุเพิ่ง 19 เอง (เทียบอายุประมาณเพิ่งเข้าปี 1) มันจะเก่งขนาดที่จดหมายแนะนำตัวบอกจริงเหรอ? คุณดาล็องแบร์ก็ไม่ค่อยเชื่อเท่าไร แกเลยลองภูมิคุณลาปลาซ ทั้งเอา textbook เรื่องยากๆ ที่คนเค้าอ่านกันเป็นเดือนกว่าจะเข้าใจมาให้อ่าน คุณลาปลาซอ่านสัปดาห์เดียวก็ถามตอบได้หมด หรือการให้โจทย์ที่ยากมากๆ คิดว่าต้องแก้กันเป็นสัปดาห์

.

ปรากฎคุณลาปลาซก็ทำได้ภายในคืนเดียว

.

โอ้แม่เจ้า เด็กนี่มันสุดยอดจริงๆ คุณดาล็องแบร์ถึงกับบอกว่า จดหมายแนะนำอ่ะเอาทิ้งไปเลย ชั้นไม่สนใจ เพราะจริงๆ เธอคือเก่งมาก เก่งมาก ปังมาก จนไม่ต้องมีจดหมายแนะนำตัวเลยก็ได้

.

คุณลาปลาซทำงานกับคุณดาล็องแบร์และได้รับความไว้วางใจ จนคุณดาล็องแบร์ถึงกับใช้บารมีของตัวเองหาตำแหน่งอาจารย์ที่โรงเรียนทหารของฝรั่งเศสให้คุณลาปลาซ ทั้งสอนทั้งทำวิจัย ส่งเปเปอร์ไปให้เลขาฯ ของ Paris Academy แบบรัวๆ (อารมณ์ประมาณราชบัณฑิตบ้านเรา)

.

จนเลขาฯ ถึงกับเมาท์ว่า ไม่เคยเห็นใครส่งผลงานที่สำคัญมากมายหลายชิ้น ส่งมารัวๆ แถมยังในเวลาสั้นๆ อีก ซึ่งผลงานที่ส่งคือมีคุณภาพมากค่ะ ได้รับเลือกตีพิมพ์บ่อยๆ จนจุดท้ายก็ได้รับการยอมรับให้เป็นสมาชิกของ Paris Academy

.

ซึ่งตอนนั้นอายุคุณลาปลาซยังแค่ 24 ปีเองนะ (อารมณ์เพิ่งจบ ป.ตรีมาได้สองสามปี)

.

คุณลาปลาซมีผลงานวิชาการทางคณิตศาสตร์เยอะไปหมด ไม่ว่าจะเป็นสมการลาปลาซ การแปลงลาปลาซ ตัวดำเนินการดิฟเฟอเรนเชียลลาปลาซก็ได้ตั้งชื่อขึ้นมาตามชื่อของเขานั่นเอง

.

(คิดดูสิคนอะไรมีตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ชื่อของตัวเองอ่ะ)

.

นอกจากคณิตศาสตร์แล้ว ยังมีผลงานทางด้านดาราศาสตร์ฟิสิกส์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสมมติฐานเนบิวลาที่ก่อเกิดระบบสุริยะขึ้นมา หรือการเสนอแนวคิดเรื่องหลุมดำ ทอปปิคที่โด่งดังมากๆ ในยุคสมัยนั้นคงจะเป็นเรื่อง การพิสูจน์การคงสภาพของระบบดาวเคราะห์ เราจะมาเมาท์เรื่องนี้กันสักหน่อยเนอะ

.

เรื่องราวมันเริ่มต้นขึ้นจากคุณ Edmond Halley (นักดาราศาสตร์ชื่อดังที่ค้นพบดาวหางฮัลเลย์อ่ะค่ะ) ได้สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์พบว่าวงโคจรของดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดีมีแนวโน้มผิดปกติ

.

คือดาวเสาร์มีการเคลื่อนหนีห่างจากดวงอาทิตย์ไปเรื่อยๆ ส่วนดาวพฤหัสบดีก็เคลื่อนเข้าหาดวงอาทิตย์ไปเรื่อยๆ ด้วยการประเมินค่าทางคณิตศาสตร์จึงพบว่า มีความผิดปกตินี้เกิดขึ้นจริง

.

สาเหตุน่าจะมาจากแรงโน้มถ่วงจากดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ เมื่อลาปลาซได้อ่านงานตีพิมพ์นี้จึงคิดจะแก้ปัญหานี้ต่อ ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน นักคณิตศาตร์ชื่อดังอย่างออยเลอร์ หรือลากรองเองก็พยายามแก้ปัญหานี้ แต่ยังไม่สำเร็จ

.

คุณลาปลาซย้อนไปที่ความรู้ซึ่งตั้งต้นมาจากนิวตัน นั่นคือกฎแห่งแรงดึงดูดสากลและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน นิวตันได้นำกฎนี้ไปพิสูจน์กฎการโคจรของเคปเลอร์ จนทำให้เราสามารถอธิบายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะได้

.

ทั้งๆ ที่นิวตันเป็นคนคิดค้นแคลคูลัส ตอนนิวตันตีพิมพ์ผลงานของตัวเอง เขากลับไม่ใช้แคลคูลัสมาอธิบายปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์เหล่านี้

.

แต่กลับเลือกใช้การให้เหตุผลทางเรขาคณิตเป็นตัวอธิบาย เมื่อต้องอธิบายผลที่เกิดขึ้นจากปฎิสัมพันธ์ระหว่างดาวเคราะห์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

เรขาคณิตก็เริ่มที่จะให้คำอธิบายไม่ได้ เกิดเป็นข้อจำกัดขึ้น

.

คุณลาปลาซได้นำเอาแนวคิดของนิวตันมาใช้แคลคูลัสในการหาคำตอบ ตอนแรกเขาได้อ่านงานเขียนของคุณออยเลอร์และลากรองที่พยายามแก้ปัญหานี้แต่ไม่สำเร็จ

.

เขาพบว่าทั้งสองท่านใช้การประมาณที่ทำให้เกิดการละพจน์การคำนวณเล็กๆ น้อยๆ บางพจน์ออกไป คุณลาปลาซมองว่าปัญหาอยู่ตรงนี้แหละ แม้พจน์ต่างๆ ที่ละไป เมื่อมองทีละพจน์ดูจะเป็นผลเล็กน้อยที่ไม่ได้สลักสำคัญอะไร แต่เมื่ออินทิเกรตกลับมา (รวมผลกลับมา) มันกลายเป็นผลที่มีความสำคัญต่อการคำนวณ

.

คุณลาปลาซใช้ความรู้ทางฟิสิกส์สร้างสมการทางคณิตศาสตร์ด้วยแคลคูลัสชั้นสูง ประกอบไปด้วยสมการอนุพันธ์กำลังสอง 9 สมการ ที่มีค่าคงตัว 18 ค่า ซึ่ง 12 ค่าหาได้จากการวัดความเร็วของดาวในวงโคจร

.

ที่อยากจะขิงมากๆ คือ ทุกอย่าง “ทำมือ” นะคะ ไม่มี excel หรือคอมพิวเตอร์ช่วย

.

จะในที่สุด คุณลาปลาซก็ได้ข้อสรุปว่า ถึงแม้ในบางช่วงเวลาดาวเคราะห์จะเคลื่อนที่ผิดไปจากปกติ แต่ในระยะยาวระบบสุริยะก็มีเสถียรภาพ คือ ระบบของเราจะไม่แตกดับบุบสลายหายต๋อมค่ะ !! (ตอนนั้นเขาคงกลัวดาวเคราะห์จะชนกัน ถ้าวงโคจรมันเดี๋ยวก็เหวี่ยงเข้าๆออกๆ)

.

โอ๊ยสบายใจค่ะ โลกไม่แตกเพราะโดนชนด้วยการคำนวณคุณลาปลาซ

.

หลังจากนั้นความรู้ชุดนี้ก็ได้ถูกเขียนออกมาเป็นตำราชื่อ Mecanique celeste เป็นซีรีส์ที่ยาวถึง 5 เล่ม หนังสือนี้ทำให้กฎแห่งแรงดึงดูดสากลและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ได้รับความเชื่อมั่นจากทั่วโลกว่าถูกต้องและสมบูรณ์ดีทุกประการ

.

แต่ขอบอกไว้ก่อนนะคะ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่อ่านยากมากๆ แถมคนเขียนยัง “ขี้ขิง” อีกต่างหากค่ะ ถ้าใครได้ไปอ่านนะคะ จะเจอข้อความว่า “มันเป็นเรื่องง่ายที่จะแสดงให้เห็นว่า….” ปรากฎในหนังสือบ่อยมากข่าาาาา แหม ง่ายขอคุณพี่อิชั้นอ่านแปดรอบยังไม่เก็ทก็มีค่ะ

.

เอาจริงๆ ผลงานของลาปลาซยังมีอีกเยอะมาก คิดว่าเขียนเล่ายาวกว่านี้คงโดนคนอ่านด่าว่าเขียนอะไรของ_ึงเยอะแยะฟระ

เช่นๆๆ สักหน่อยละกัน

.

– ทฤษฎีความน่าจะเป็นที่ใช้คำนวณประชากรของทั้งประเทศฝรั่งเศสแบบไม่ต้องไปนั่งนับทีละคน

-ร่วมงานกับ Antoine Lavoisier (เจ้าของกฎทรงมวลในวิชาเคมี) ศึกษาเรื่องความร้อนและร่วมกันประดิษฐ์คาลอริมิเตอร์

-ทฤษฎีไดนามิกของกระแสน้ำ อธิบายว่าของมหาสมุทรตอบสนองต่อแรงน้ำขึ้นน้ำลงยังไง พร้อมด้วยสมการน้ำขึ้นน้ำลงของลาปลาซ

-ทฤษฏีทางสถิติและความน่าจะเป็นแบบอุปนัย

ฯลฯ

.

โอ๊ยเขียนไม่ไหวแล้วค่ะแม่ เอาเป็นว่าเยอะ และหลายวงการมากๆ จนเค้าเรียนว่าเป็น “นิวตันแห่งฝรั่งเศส” อ่ะคุณผู้โช้มมมมม

.

ความเก่งกาจทางวิชาการของเขาทำให้คุณลาปลาซได้รับการยอมรับในวงกว้าง พี่แกจึงเริ่มเข้าสู่การเมือง ซึ่งฝรั่งเศสคือการเมืองแรงมากกกกกกกก

คุณลาปลาซเข้าเล่นการเมืองจนฝรั่งเศสเดินทางเข้าสู่ “การปฏิวัติใหญ่”

.

ตอนนั้นคือประชาชนลากเอาขุนนางหรือราชวงศ์ที่พวกเขาเกลียดชังมาประหารที่เครื่องบั่นคอกิโยติน จำกันได้มั๊ยคะ หวาดเสียวเวอร์

คุณลาวัวซิเย Lavoisier ก็เป็นหนึ่งในคนที่โดนกิโยตินบั่นคอค่ะ กรี๊ดดดด แล้วคุณลาปลาซจะรอดมั๊ย!?

.

รอดค่ะ! มีอยู่ช่วงหนึ่งที่คุณลาปลาซอยู่ดีๆ ก็ลุกขึ้นมาด่ากษัตริย์และราชวงศ์อย่างรุนแรง แกอาศัยผลจากตรงนี้ว่าแกอยู่ฝ่ายประชาชนนะ

.

ก็เลยรอดจากเครื่องประหารแต่ก็โดนปลดออกมาจากตำแหน่งการเมืองต่างๆ ค่ะ เรียกว่าพี่แกอยู่เป็นเนอะ

.

ต่อมาเมื่อนโปเลียนยึดอำนาจได้ คุณลาปลาซก็ออกมาสนับสนุนนโปเลียนอย่างออกหน้าออกตาเลยค่ะ (โคตรจะอยู่เป็น)

.

พอนโปเลียนหมดอำนาจ ราชวงศ์ Bourbons กลับคืนสู่บัลลังก์ คนอื่นยังกระด้างกระเดื่องกับกษัตริย์อยู่ แต่คุณนโปเลียนเป็นคนแรกๆ เลยค่ะ

ที่คุกเข่าให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 กุลีกุจอถวายตัวเป็นข้ารับใช้ (โอ๊ย อยู่เป็นโคตรๆ)

.

เอาจริงๆ ถ้าเป็นพวกเราจะทำแบบไหนกันคะ กลับไปกลับมาเพื่อให้ตัวเองและครอบครัวอยู่รอด หรือจะทะนงในศักดิ์ศรีแล้วยอมตาย ตัดสินใจยากอยู่นะคะ

.

ตลอดช่วงชีวิตของคุณลาปลาซ คนที่ได้ทำงานร่วมกับแกต่างเป็นเป็นเสียงเดียวกันว่าแกอัธยาศัยดีกับผู้ร่วมงานค่ะ เราจะเห็นชื่อคุณลาปลาซไปโผล่กับนักวิทยาศาสตร์คนนั้นคนนี้ตลอด เช่น แกทำแล็บเรื่องการเลี้ยวเบนของแสงร่วมกับ Francois Arago ศึกษาเรื่องปรากฎการณ์โพลาไรเซชันกับกับ Jean Biot ศึกษาเรื่องแก๊สกับ Joseph Gay-Lussac และอีกมากมาย

.

ในด้านชีวิตครอบครัว คุณลาปลาซตอนอายุ 39 ปีได้แต่งงานกับหญิงสาวที่อายุเพียง 19 ปี และมีบุตรด้วยกันเป็นชายหนึ่งหญิงหนึ่งค่ะ ในช่วงท้ายของชีวิตได้อพยพออกจากปารีสไปอยู่ที่เมือง Arcueil มีคนบันทึกว่าในห้องทำงานของคุณลาปลาซมีภาพของเซอร์ไอแซค นิวตัน แขวนคู่กับ Racine นักประพันธ์ที่แกชื่อชอบ และคุณลาปลาซได้จากโลกนี้ไปเมื่อ 5 มีนาคม 1827 ก่อนจะถึงวันเกิดปีที่ 78 ของแกแค่สองอาทิตย์เอง

.

เรียกได้ว่าความเก่งราวปาฏิหาริย์ของแกนั้นทำให้โลกได้พบเจอกับองค์ความรู้ใหม่ พาผู้คนไปสู่อนาคต คนที่เรียนสายวิศวกรรม คณิต สถิติ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ และปรัชญาน่าจะต้องคุ้นชินกับชื่อ “ลาปลาซ” นี้เป็นอย่างดี

.

ในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันเกิดแกปีนี้ ฟิสิกส์ฟาร์มก็เลยพาทุกคนมาร่วมรำลึกถึงแกกันเสียหน่อย

.

ขอให้ความรู้ของโลกใบนี้เติบโตไปข้างหน้า

พร้อมกับศีลธรรมของผู้คน

.

พี่ฟาร์มมี่

.

#วันสำคัญ#นักวิทยาศาสตร์#สาระน่ารู้#ความรู้รอบตัว#วิทย์ที่คุณไม่รู้

Pierre-Simon Laplace | ลาปลาซแห่งฝรั่งเศส Read More »

Download ชีท | ฟิสิกส์ A-level กันวันละข้อ ปี 55

📍#DEK67 #DEK68 สายฟิต มาติดตามคลิปวีดีโอ Youtube จากพี่ฟาร์ม ในซีรีส์ ฟิสิกส์ A-level กันวันละข้อ เพิ่มความแข็งแกร่งสุดจึ้ง~

Youtube

Download ชีท | ฟิสิกส์ A-level กันวันละข้อ ปี 55 Read More »

รู้วิทย์ให้เข้าใจ – ทำไมแผ่นดินไหวไปเกิดที่ตุรกีหนักขนาดนี้ ?

จากเหตุแผ่นดินไหวตุรกี (หรืออีกชื่อ ตุรเคีย) – ซีเรีย ครั้งใหญ่ ขนาด 7.8 ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2023 ที่ผ่านมานี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวนมาก ฟิสิกส์ฟาร์มของแสดงความเสียใจกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นและขอร่วมไว้อาลัยแด่ผู้ล่วงลับด้วยครับ

น้องๆ อาจเกิดคำถามว่า ทำไมแผ่นดินไหวไปเกิดที่ตุรกีหนักขนาดนี้ ?

เพราะเราอาจไม่ค่อยได้ยินข่าวเกี่ยวกับเหตุที่เกิดกับประเทศนี้สักเท่าไร …​โดยเรามักได้ข่าวแผ่นดินไหวทางญี่ปุ่น จีน พูดง่ายๆ คือในเอเชียโซนตะวันออกใกล้บ้านเราเสียซะมากกว่า เพราะเราอาจไม่ค่อยได้ยินข่าวเกี่ยวกับเหตุที่เกิดกับประเทศนี้สักเท่าไร …​โดยเรามักได้ข่าวแผ่นดินไหวทางญี่ปุ่น จีน พูดง่ายๆ คือในเอเชียโซนตะวันออกใกล้บ้านเราเสียซะมากกว่า ซึ่งถ้านับขนาดใหญ่หน่อย (ขนาด 4 ขึ้นไป) ก็เจอไปถึง 332 ครั้ง แล้ว

แปลว่า ตุรกีเป็นประเทศที่ประสบเหตุแผ่นดินไหว “บ่อยมาก”
และสาเหตุก็คือเพราะว่า  “ตุรกีตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก 4 แผ่น” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแนวรอยต่อของภูเขาแอลป์-หิมาลัย (ระบบเทือกเขาแอลป์-หิมาลัย: Alpide belt)

แผ่นเปลือกโลกทั้งสี่ได้แก่…

แผ่นเปลือกโลกทั้งสี่ได้แก่ 1. แผ่นเปลือกโลกอนาโตเลียน (Anatolian microplate) ซึ่งพื้นที่ตุรเคียเกือบทั้งหมดตั้งอยู่ รอบๆ นั้นถูกล้อมไปด้วยเปลือกโลกแผ่นใหญ่อีกสองแผ่นคือ …
แผ่นเปลือกโลกยูเรเซียน (Eurasian tectonic plate) และ 3. แผ่นเปลือกโลกแอฟริกัน (African tectonic plate) นอกจากนี้ ทางตะวันออกของประเทศ ยังมี 4. แผ่นเปลือกโลกอาระเบียน (Arabian tectonic plate) ซึ่งดินแดนซีเรียก็อยู่บนแผ่นเปลือกโลกนี้
นั่นทำให้ตุรเคียตั้งอยู่บนบริเวณที่อ่อนไหวต่อการเกิดแผ่นดินไหวมากๆ เพราะอยู่บนรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก (fault) เต็มๆ

เหตุการณ์ในครั้งนี้ จุดเกิดเหตุอยู่ที่รอยเลื่อนอนาโตเลียตะวันออก (East Anatolian Fault) ที่อยู่ระหว่างแผ่นโลกอนาโตเลียนกับแผ่นโลกอาระเบียน รอยเลื่อนนี้จัดเป็นรอยเลื่อนประเภทรอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) แผ่นโลกอนาโตเลียนเคลื่อนทิศทวนเข็มนาฬิกา ในขณะที่แผ่นอาระเบียนก็ผลักในทิศสวนทาง แล้วก็ดันให้แผ่นอนาโตเลียนไปชนกับแผ่นยูเรเซียนอีกที !!! เรียกได้ว่า กระทบ-กระแทก-กระทั้น-สนั่นหวั่นไหวไปมา …จนเกิดการไหวสะเทือน กลายเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในครั้งนี้


สำหรับประเทศไทยเรา

แม้ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็น “รอยเลื่อนซึ่งไม่มีพลังแล้ว” แต่ก็ยังได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะที่ภาคเหนือในช่วงจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และแพร่
พี่หวังว่า การเรียนรู้จากเรื่องราว/ บทเรียนของประเทศเพื่อนบ้าน จะช่วยให้เราเกิดความเข้าใจ และต่อยอดเป็นการเตรียมตัวรับมือเมื่อเกิดวิกฤตกาลแผ่นดินไหวหรือธรณีพิบัติภัยประเภทต่างๆในอนาคตได้ ไม่มากก็น้อย

รู้วิทย์ให้เข้าใจ – ทำไมแผ่นดินไหวไปเกิดที่ตุรกีหนักขนาดนี้ ? Read More »

COUNTDOWN สู่สนามสอบ A-Level

⚡️โค้งสุดท้าย⚡️60 วันสู่สนามสอบ A-Level ::
ช่วงนี้ความกดดันสูง~!! พลังใจต้องสูงเช่นกันน ~!!!
พี่ฟาร์มขอส่งพลังใจให้กับทีม #DEK66 น้า
.
“เริ่มตอนนี้” ก็ยังมีเปอร์เซ็นต์สอบติด
กว่า “ไม่เคยเริ่มเลย” ✺◟(^∇^)◞✺
.
แนะนำคอร์สเรียนโค้งสุดท้าย สรุป+ตะลุยโจทย์
Refined Physics ::
https://www.physicsfarm.org/product/refined-physics/
ปรึกษาการสมัครเพิ่มเติม ทัก inbox ได้เลย
.
#TCAS66#ฟิสิกส์ฟาร์ม

COUNTDOWN สู่สนามสอบ A-Level Read More »

คำขวัญวันเด็ก 2566 จากฟิสิกส์ฟาร์ม

เนื่องในโอกาสวันเด็ก 2566 ปีนี้ พี่ฟาร์มขออวยพรให้น้องๆ ทุกคน มีคะแนนใน 3 ด้านต่อไปนี้ เยอะๆ
1. คะแนนสอบ
2. คะแนนความฝัน
3. คะแนนใจ
—————–

1. คะแนนสอบ


การเป็น “นักเรียน”​ หน้าที่หลักก็คือ “เรียน” ซึ่งทำให้เราหนีไม่พ้น “การสอบ” หลายคนมองสิ่งนี้เป็นความเครียดความกังวล เป็นการตีตราแบ่งชั้น ซึ่งมุมมองแบบนั้นก็อาจจะไม่ผิด แต่อยากให้มองว่า เราเรียนหนังสือไปเพื่อให้เกิด “การเรียนรู้” เกิดการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะเรียนรู้ได้ดีหรือไม่ดี มันก็ต้องมีตัววัด การสอบจึงมาทำหน้าที่นี้ ยิ่งมีการแข่งขันบนความจำกัดเข้ามาร่วมด้วยแล้ว (เช่นที่เรียนมีจำกัด) ทุกอย่างก็ดูยิ่งต้องจริงจังมากขึ้น

สิ่งที่จะทำให้คะแนนสอบเราดีนั้น พื้นฐานมันคือการทำให้ตัวเอง “เรียนรู้ด้วยความเข้าใจ” ถ่องแท้ในสิ่งที่เรียน ใฝ่รู้และฝึกฝนให้เกิดทักษะความชำนาญ พี่จึงขออวยพรให้น้องๆ มีความสามารถที่จะเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ
แล้วคะแนนสอบจะตามมาเองอัตโนมัติ

ส่วน #Dek66 ที่กำลังจะสอบ #TCAS66 พี่อวยพรให้เป็นพิเศษเลย
ขอให้น้องๆ พิชิตคะแนน A-LEVEL กันได้ดังใจหวังนะจ๊ะ
ใครฝึกมาเยอะ ขอให้ได้เยอะ คะแนนปังปุริเย่กันถ้วนหน้า

2. คะแนนความฝัน

เด็กรุ่นใหม่นั้นเต็มไปด้วยจินตนาการและความฝัน พี่ดีใจที่เห็นน้องๆ กล้าคิด กล้าฝัน หลายคนลงมือทำตามฝันตั้งแต่อายุน้อยๆ แต่ก็มีอีกหลายคนที่ยังติดอยู่ในกรอบ ทั้งกรอบที่ตัวเองสร้างขึ้นหรือกรอบที่ครอบครัว-สังคมมองมา

วันเด็กปีนี้ พี่ขออวยพรและส่งกำลังใจให้น้องกล้าที่จะก้าวออกมาจากกรอบ
มีแต่เราเท่านั้นที่รู้ใจเราดีว่า “ตัวเราต้องการอะไร” การได้ทำตามฝัน แม้จะผิดพลาด ก็ยังดีกว่าการไม่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองฝันเลย

ส่วนคนที่ยังหาความฝันไม่เจอ หรือภาพฝันของเรายังไม่ชัด นั่นไม่เป็นไรเลย
พี่ขอให้น้องเจอสิ่งที่ตัวเองต้องการในเร็ววัน

ถ้าการมีความฝันและการเดินตามฝันจนสำเร็จ ถูกตีออกมาเป็นคะแนนเต็มร้อย พี่ขอให้น้องค่อยๆ เดินทาง ค้นหา ค้นคว้า จนค้นพบ ให้คะแนนค่อยๆ ไต่สู่ 100 ในเร็ววันนะจ๊ะ

3. คะแนนใจ

ความคาดหวัง การสอบสุดโหด ความเครียดในช่วงวัย การถูกเปรียบเทียบ รวมถึงปัจจัยที่สร้างความกดดันอันน่าอึดอัดอื่นๆ อีก คงทำให้เด็กๆ หลายคนรู้สึกแย่ รู้สึกแซด 😭 คะแนนจิตใจของเราเวลาเจออะไรแย่ๆ มากระทบ ย่อมตกต่ำ ถ้าต่ำมากๆ เข้าก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้

หากอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ พยายามเอาตัวเองออกมา สื่อสารกับใครสักคนที่เป็น safe zone ของเรา และอยากให้รู้ไว้ว่า ที่นี่ก็ยังมีพี่ฟาร์มคอยเป็นกำลังใจเล็กๆ ให้พวกเราเสมอนะคะ

พี่ขออวยพรให้สิ่งที่จะมากระทบใจในทางลบของพวกเราลดน้อยลงไป
และให้ใจของเราแข็งแรงขึ้นที่จะรับมือกับพลังลบพวกนี้ได้

เป็นกำลังใจให้เสมอนะคะ
ขอให้มีความสุขไปกับวันเด็กปี 2566 กันถ้วนหน้าจ้า

ด้วยรัก
พี่ฟาร์ม

คำขวัญวันเด็ก 2566 จากฟิสิกส์ฟาร์ม Read More »

#ALevel ฟิสิกส์ Dek66 บทไหนทำบทไหนทิ้ง?

#ALevel#ฟิสิกส์#Dek66 บทไหนทำบทไหนทิ้ง? ⏰ ทำยังไงดี..อ่านไม่ทันแล้ว หนูอยากเทบางบท ผมอยากทิ้งบางส่วน ก็มันไม่ทันจริงๆ อ่ะครับ/ค่ะ

.

อยากบอกว่าพี่ “โคตรเข้าใจ” น้องเลย

เพราะตะก่อนตอนสอบ

ชั้นก็เป็นโรคอ่านไม่ทันซินโดรมเหมือนพวกน้องๆ กันนี่แหละ

.

ก็เลยอยากจะพามาวิเคราะห์ข้อสอบย้อนหลังกันหน่อย

จากข้อสอบ #ฟิสิกส์สามัญ ตั้งแต่ปี 63 เป็นต้นมา

ที่สสวท. เป็นเจ้าภาพในการออกข้อสอบอย่างเต็มตัว

เราพบว่า “ไม่มีบทไหนไม่ออกสอบเลย”

นั่นเพราะเขาเป็นคนเขียนหลักสูตร

แล้วจะออกข้อสอบให้ไม่ตรงหลักสูตรหรือไม่ครอบคลุมในหลักสูตรที่ตัวเองเขียน คงโดนคนติฉินนินทากันไปแปดเดือนสิบเดือน

ดังนั้นข้อสอบ สสวท จึงต่างกับผลงานเก่าของ สทศ. อย่างลิบลับ

.

ไม่มีข้อสอบที่ “เกินหลักสูตร”

ไม่มีบทไหนที่ “ไม่ออกสอบ”

✅
✅
✅

.

ดังนั้นจะมาเก็งว่าไม่ต้องอ่านบทนั้นบทนี้ ตอบเลยว่ามันทำไม่ได้

ในอุดมคติแล้วเขาต้องการให้เราทำได้ “ทุกบท” นั่นเอง

.

แล้วจะทำไงอ่ะค่ะ ก็มันอ่านไม่ทันอ่ะ พี่ไม่แก้ปัญหาให้หนูเลย

.

ใจเย็นๆ กันนะคะซิสแอนด์โบร พี่ไม่ได้บอกให้หนูอ่านทุกบท

พี่แค่บอกว่า ถ้าทำได้ควรจะผ่านมันมาทุกบท

แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง เราไม่จำเป็นต้องตั้งเป้าให้ทำได้ทุกข้อก็ได้นี่นา

เราเลือกได้ ว่าเราอยากได้คะแนนประมาณนี้ เราถนัดมากในบทนี้ เราไม่ค่อยถนัดเลยในบทนั้น

.

พี่เลยบอกว่า ถ้าจะต้องเท คนที่เลือกบทที่จะเท คือน้องเองค่ะ

เลือกเลยว่าเราไม่ถนัดบทไหน ก็เทบทนั้น ให้อยู่ในเปอร์เซ็นต์ที่ไม่มากไปนะ

.

เช่น สมมติ ฟิสิกส์มี 20 บท เราไม่ค่อยไหวเลย 4 บท เราก็เกาะ 16 บทไว้ให้แม่นๆ ยังไงถ้าในบทที่เราทำได้ เราได้คะแนนจากมันจริงๆ (ต้องได้จริงๆ นะ) ในภาพรวมก็คือ ทั้งวิชา เราจะมีคะแนนถึงตามเป้านั่นเอง

.

⚠️ แต่เรื่องนี้ต้องระวัง ไม่ใช่พอบอกเลือกเทตามพระทัยแล้วจะเททีละ 10 บท

แกร๊ มันไม่ได้ เพราะเรากำลังจะเทไป 50% ของทั้งหมด

โอกาสที่เราจะทำถูกทุกข้อในข้อที่ทำได้แล้วได้คะแนน 50/100 มันก็ไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ขนาดนั้นใช่มะ

.

#สรุปก็คือ โดยอุดมคติแล้ว บทไหนก็ออก เทไม่ได้ทั้งนั้น

แต่ถ้าไม่ทันแล้วต้องเท ให้เลือกบทที่ไม่ถนัดที่สุดสักกลุ่มหนึ่งพอ (อย่าเยอะ)

เทบทเสียคะแนนเหล่านี้ แล้วเอาเวลาไปทุ่มให้กับบทที่เราทำแต้มได้แบบชัวร์ๆ มากขึ้น

ก็เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่พี่แนะนำนะ ลองเอาไปคิดกันดู เลือกกันดู ทำกันดู

.

.

#tcas66#dek66#ฟิสิกส์ฟาร์ม#physicsfarm

#ALevel ฟิสิกส์ Dek66 บทไหนทำบทไหนทิ้ง? Read More »

แล้วต้องทำคะแนนฟิสิกส์อีกเท่าไหร่? (ใน A-Level)

#อ่านไปไม่มีหลง (ตอนที่ 2/2) แล้วเรา #ต้องทำฟิสิกส์เพิ่มอีกกี่คะแนน ถึงจะ “สอบติด” ตามเป้าหมายที่ต้องการ✨🎉

ก็อยากให้น้องๆ ไปดูสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของคะแนนที่เราต้องใช้ก่อน เช่นเราสอบได้ TGAT = 60 ; TPAT3 = 70

👉🏻 สมมติสัดส่วนคะแนนมันใช้

– TGAT 20%

TPAT3 30%

– อีก 50% มาจาก A-LEVEL โดยแบ่งเป็น ฟิสิกส์ 20% เลข 20% และเคมี 10%

.

นั่นหมายความว่า “ครึ่งแรก” เราจะมีคะแนนในมือ

= 20%*(60) + 30*(70)

= 33 คะแนนรวม (จาก 100)

.

ดังนั้นถ้าเป้าหมายเรา อยากให้ได้คะแนนรวมทั้งหมดที่ 65 ✨

เราก็ต้องการอีก 65-33 = 32 คะแนนรวม

.

ไม่งงนะ😬

.

ซึ่งจากสถิติการทำข้อสอบเก่าย้อนหลัง ตอนทำข้อสอบเก่า (แบบจับเวลา) เรามักจะได้คะแนนประมาณนี้..

👉🏻 ฟิสิกส์ 60 เลข 50 เคมี 60 👈🏻

.

นั่นหมายความว่าฝีมือเรา ณ ปัจจุบัน น่าจะได้คะแนนที่ประมาณ 20%*(60) + 20%*(50) + 10%*(60) = 28

ตีความได้ง่ายๆ เลยว่า “มันไม่พอ”

ต้องการ 32 มีอยู่ 28

ต้องอัพขึ้นไปอีก 4 แต้ม

📌
📌
📌
📌

.

ทีนี้ ก็มาดูต่อว่าเราถนัดอะไร

อย่างฟิสิกส์ พอจะอัพตัวเองไปที่ 70 ได้ไหม

เลขสัก 60 ละกัน

ส่วนเคมีไม่ไหวละ 60 เท่าเดิม

.

แบบนี้จะได้ 32 แต้มพอดี

(เนี๊ยะแล้วก็ใส่ค่าเผื่อไปอีกหน่อยให้มันเซฟๆ)

.

🧡 จะเห็นว่าสิ่งที่ต้องทำคือการมองไปข้างหน้าจริงๆ แหละ ลองไปคิดดูว่าเราควรทำคะแนนในรายวิชาที่ยังเหลือสอบอยู่ไปที่เท่าไร

.

สิ่งที่เราทำอยู่เค้าเรียกว่า ​gap analysis ครับ ดูว่าเราอยู่ที่จุดไหน ดูว่าเป้าที่เราจะไปอยู่จุดไหน แล้วจะเห็นช่วงห่างที่เราต้องปิดช่องโหว่ตรงนี้ให้ได้ ซึ่ง #โค้งสุดท้ายแบบนี้ ก็หนีไม่พ้นการทำโจทย์ครับ ฝึกมันเข้าไปนะวัยรุ่น

.

พี่ฟาร์มหวังว่ามุมมองเหล่านี้จะช่วยให้น้องมองไปข้างหน้า หาสิ่งที่เราทำได้แล้วเกิดประโยชน์สูงสุดต่อช่วงเวลาที่แสนจำกัดนี้กันเถอะ

.

รู้ว่าเครียด รู้ว่ากดดัน แต่มากันขนาดนี้แล้ว อีกสองเดือนอ่ะ… สู้เขาสิวะอิหญิง สู้เขาสิผู้บ่าวทั้งหลาย ✨✨

.

พี่ส่งกำลังใจให้นะครับ

พี่ฟาร์ม ;3

.

#dek66#tcas66#ฟิสิกส์alevel#การสอบtcas

แล้วต้องทำคะแนนฟิสิกส์อีกเท่าไหร่? (ใน A-Level) Read More »

เราอยู่ตรงไหนในบรรดาคนสอบ TPAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์

🔥#อ่านไปไม่มีหลง (ตอนที่ 1/2) สำหรับทุกคนที่สอบ TPAT3 ลองมาเทียบคะแนนตัวเอง เพื่อดูตำแหน่งการแข่งขันโดยประมาณของตัวเองกันนะคะ

🚨 บทความนี้ มีด้วยกัน 2 ตอน ตอนแรกจะช่วยสร้างมุมมองว่า จากคะแนนสอบที่เรามี เราอยู่จุดไหนของการแข่งขัน ส่วนตอนที่สอง (มาพรุ่งนี้) จะบอกน้องว่า เราจะต้องตั้งเข็มทิศการเดินทางยังไง เพื่อพาตัวเองไปสู่เป้าหมาย พร้อมแล้วมาเริ่มกันเลยค่ะ

.

จากผลคะแนน TPAT3 ที่ออกมาแล้ว ~!! รู้สึกยังไงกันบ้างคะ โอเคกันป่าวน้า 😊

.

ไม่ว่าเราจะได้คะแนนเท่าไหร่นะคะ คำถามสำคัญที่เราควรจะถามตัวเองต่อมาก็คือ คะแนนที่เรามีอยู่ในมือ มัน “โอเคไหม” ~!!

🔥 แล้วเราจะตัดสินยังไงกันดี

.

พี่ฟาร์มชวนน้องๆ มาลองดูหนึ่งในมุมมองที่น่าสนใจ …นั่นคือ ถ้าเรามองว่าคะแนนสอบครั้งนี้มีการแจกแจงแบบปกติ (งานสถิติเข้าแล้วหนึ่งงงง)

.

เราจะพบว่าคนส่วนใหญ่ได้คะแนนอยู่ที่ประมาณ 46 คะแนน (ดูจากค่าเฉลี่ย) และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 11.8

.

สมมติว่าถ้าเรามีคู่แข่ง 100 คนในการสอบเข้า วิชาสถิติสอนเราว่า

– ถ้าเราได้คะแนนที่ค่าเฉลี่ย (46 คะแนน) เราจะมีแรงกิ้งอยู่เหนือคู่แข่ง 50 คน

– ถ้าเราได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยมา 0.5SD (52 คะแนน) เราจะมีแรงกิ้งอยู่เหนือคู่แข่งอยู่ประมาณ 69 คน

– ถ้าเราได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยมา 1.0SD (58 คะแนน) เราจะมีแรงกิ้งอยู่เหนือคู่แข่งอยู่ประมาณ 84 คน

– ถ้าเราได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยมา 1.5SD (63.5 คะแนน) เราจะมีแรงกิ้งอยู่เหนือคู่แข่งอยู่ประมาณ 93 คน

– ถ้าเราได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยมา 2.0SD (69 คะแนน) เราจะมีแรงกิ้งอยู่เหนือคู่แข่งอยู่ประมาณ 98 คน

.

👉🏻 จะเห็นว่าคะแนนที่ต่างกันเพียงไม่กี่แต้ม กลับทำให้ตำแหน่งทางการแข่งขันขยับห่างกันออกไปได้ไกลพอสมควรเลย

.

ดังนั้นลองดูว่าคะแนนของเรานั้นอยู่ที่ช่วงไหนนะคะ มุมมองแบบนี้น่าจะมีประโยชน์กว่าการตีความว่ามากน้อย เพราะเราก็พูดยากว่าอะไรคือมากหรือน้อยเนอะ

.

พอรู้แล้ว ทีนี้ยังไงต่อกันล่ะ?

พี่แนะนำให้น้อง “มองไปข้างหน้าครับ”

.

คะแนนสอบที่ออกมาแล้ว เราทำอะไรแทบไม่ได้แล้วครับ แต่สิ่งที่ยังไม่ได้สอบ ก็คือฟิสิกส์ A-LEVEL

อันนี้เรายังวาดลวดลายให้กับมันได้เต็มที่

โดยบริหารเวลาที่เหลือให้ดี

“เลือก” และ “ทำ” เฉพาะสิ่งจำเป็นให้กับตัวเอง

.

แล้วน้องจะต้องทำคะแนนสอบฟิสิกส์อีกเท่าไหร่ มาติดตามกันตอนหน้านะคะ พี่มีคำตอบ✨

ด้วยรัก

จากพี่ฟาร์ม

——————

#dek66#tcas66#tpat3#ความถนัดทางวิศวกรรม

เราอยู่ตรงไหนในบรรดาคนสอบ TPAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ Read More »

ทักทายจากน้ำพุร้อนสันกำแพง

ใต้เปลือกโลกนั้นมีความร้อนสะสมอยู่ ซึ่งแถมมาด้วยก็คือความดันที่อัดแน่น เมื่อแหล่งน้ำใต้ดินผ่านไปยังบริเวณที่อัดแน่นทั้งความดันและอุณหภูมิสูงแบบนี้ .. มันก็เลย..ตู้มมมม กลายเป็นโกโก้ครันช์ ผิด! กลายเป็น “น้ำพุร้อน” 🤣🤣 ซึ่งก็มีหลายประเภทแบ่งย่อยมา ทั้งฮอทสปริง เกเซอร์ บ่อไอเดือด บ่อโคลนเดือน .. และที่พี่ฟาร์มไปเที่ยวก็คือ น้ำพุร้อนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นน้ำพุร้อนประเภทฮอทสปริงครับ .. มันฟินมากเลยนะ อากาศอุณหภูมิ 17 องศา น้ำพุอุ่นๆ ก็พ่นออกมา พอไอร้อนกระทบอากาศเย็น ก็ควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำ หยดแปะๆ ลงมา สนุกสนาน อิอิ

ทักทายจากน้ำพุร้อนสันกำแพง Read More »

5 ขั้นตอนตะลุยข้อสอบฟิสิกส์ย้อนหลังให้เวิร์ค

📌📌#ติวฟิสิกส์ยังไง ให้ทำข้อสอบได้~!! ท่องเลย “อ่าน-วง-ดอก-มาแก้-เพี้ยน” #dek66#dek67#dek68 เทคนิคนี้ต้องรู้

.

1. “อ่าน” เอาเรื่องจนเก็ทสิ่งที่โจทย์ถาม : ถ้าอ่านโจทย์แล้วไม่เก็ทแม้แต่นิดเดียว ยกมือถามอาจารย์คุมสอบเลยว่า “จารย์คะแจกข้อสอบหนูผิดบทหรือเปล่า—“

.

2. “วง” ตัวแปรต่างๆ ให้ครบ : เมื่อเรากวาดสายตาไปแล้ว ให้วงตัวแปรที่รู้จัก เพื่อเราจะได้ปะติดปะต่อเรื่องราวให้ครบถ้วน

.

3. “ดอก” (จัน) 🌟 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร : วาดดอกจันท์เล็กๆ ที่ความสัมพันธ์ของตัวแปร เติมสูตรเข้าไปบนกระดาษทดก็ได้ กันลืม

.

4. “มาแก้” โจทย์กันด้วยคณิตศาสตร์ : ได้องค์ประกอบครบแล้ว ห้ามจบตรงนี้ คิดเลขต่อไปเลยจ้า เอาให้ถึงคำตอบ ระวังหน่วยด้วยนะ

.

5. “เพี้ยน” มั้ยคำตอบ? ลองตรวจคำตอบดูซิ : ได้คำตอบก็จริงแต่เอ๊ะ ? ตรรกะมันผิดจากสิ่งที่เรียนมาหรือเปล่า เช่น หาเวลา แต่คิดออกมาได้ติดลบ แปลว่าอะไรหว่า คิดเลขใหม่เดี๋ยวนี้ !!

.

ทำโจทย์บ่อยๆ ทั้ง 5 ขั้นตอนนี้จะซึมม เข้าไปใน DNA ของเรา

เหมือนปั่นจักรยานคล่องๆ เลยแหล่ะ

.

🔥ปลายธันวาแล้ว รีบทำข้อสอบสามัญย้อนหลังให้ครบกัน

คอร์สเดียวเอาอยู่

.

.

#ฟิสิกส์ฟาร์ม#physicsfarm#ฟิสิกส์

5 ขั้นตอนตะลุยข้อสอบฟิสิกส์ย้อนหลังให้เวิร์ค Read More »

Physics Slayer จัดโปร+ ใช้โค้ด Farmmie_May รับส่วนลด 2,100 บาท ด่วน! 100 สิทธิสุดท้าย

X