คำแนะนำ
0 of 20 Questions completed
Questions:
You have already completed the quiz before. Hence you can not start it again.
Quiz is loading…
You must sign in or sign up to start the quiz.
You must first complete the following:
0 of 20 Questions answered correctly
Your time:
Time has elapsed
You have reached 0 of 0 point(s), (0)
Earned Point(s): 0 of 0, (0)
0 Essay(s) Pending (Possible Point(s): 0)
โดยปกติคลื่นเสียงจะเข้าสู่ระบบการรับฟังเสียงของหูคนเราโดยผ่านช่องรูหู (ear canal) ไปตกกระทบเยื่อแก้วหูที่ปลายช่องรูหูซึ่งจะสั่นตามจังหวะของคลื่นเสียงนั้น ช่องรูหูจึงเป็นด่านแรกที่ช่วยขยายสัญญาณเสียงที่ผ่าน เข้าไปถ้าความยาวของช่องรูหูของคนทั่วไปมีค่าประมาณ 2.5 เซนติเมตร แสดงว่าคนเราควรจะรับฟังเสียงความถี่ประมาณกี่เฮิรตซ์ได้ไวเป็นพิเศษ (ความเร็วเสียง 350 m/s)
จากการทดลองเกี่ยวกับการสลายของธาตุกัมมันตรังสีชนิดหนึ่งพบว่าภายในช่วงเวลา 10 วัน กัมมันตภาพลดลงเหลือ 15% ของตอนเริ่มแรก จงหาครึ่งชีวิตของธาตุดังกล่าวนี้
กำหนด log2=0.301 และ log3=0.477
ในโรงงานแก้วแห่งหนึ่งมีระดับความเข้มเสียง 100 dB ถ้าคนงานใช้เครื่องกรองเสียงครอบหูปรากฏว่าลดความเข้มเสียงได้ 99.99% ของ ปริมาณความเข้มเดิมคนงานจะได้ยินเสียงมีระดับความเข้มกี่เดซิเบล
คิมหันต์และต้องรักยืนอยู่ห่างกัน 10 m และเป่านกหวีดพร้อมๆ กัน ด้วยความถี่ต่างกัน ต้องรักเป่านกหวีดด้วยความถี่ 338 Hz ในขณะที่หมอเทพ ยืนอยู่ระหว่างคิมหันต์และต้องรักได้ยินเสียงบีตส์ หมอเทพจึงวิ่งเข้าไปหา ต้องรักด้วยความเร็ว 2 เมตร/วินาที ปรากฎว่าหมอเทพไม่ได้ยินเสียงบีตส์อีก อยากทราบว่าตอนแรกหมอเทพได้ยินเสียงบีตส์ด้วยความถี่เท่าใดถ้าขณะนั้นอุณหภูมิ 15 °C
พิจารณาจากภาพ มุม มีค่าเท่าไร เมื่อแสงเดินทางผ่านจากอากาศไปยังปริซึมแล้วออกสู่อากาศอีกครั้ง ดังภาพ (กำหนดให้ดรรชนีหักเหของปริซึมมีค่าเท่ากับ √2)
แท่งพลาสติกใสรูปลูกบาศก์ยาวด้านละ 15 เซนติเมตร มีฟองอากาศเล็กๆ อยู่ภายใน เมื่อมองทางด้านหนึ่งจะเห็นฟองอากาศที่ระยะ 6 เซนติเมตร แต่เมื่อมองทางด้านตรงข้ามจะเห็นอยู่ที่ระยะ 4 เซนติเมตร จงหาว่าจริงๆ แล้วฟองอากาศอยู่ห่างจากผิวแรกที่มองเท่าใด
ต้องวางวัตถุที่ตำแหน่งใดหน้ากระจกเว้า จึงจะได้ภาพมีขนาดโตกว่าวัตถุ
วางวัตถุหน้ากระจกอันหนึ่งที่ระยะห่าง 10 เซนติเมตร พบว่าเกิดภาพหน้ากระจกที่มีกำลังขยาย 2 เท่า จงหาชนิดกระจกและความยาวโฟกัส
วัตถุอยู่ที่จุด O ซึ่งอยู่ห่างจากเลนส์นูนมีความยาวโฟกัส 8 cm ให้ภาพจริงที่จุด ซึ่งอยู่ห่างจากเลนส์นูน 40 cm เมื่อนำกระจกมาวางไว้ที่ตำแหน่ง 10 cm จากเลนส์ ดังรูป ภาพสุดท้ายเกิดจุดเดียวกับจุด O จงหาระยะวัตถุหน้าเลนส์นูน
ฉายแสงสีเดียวผ่านเกรตติง พบว่าความเข้มสูงสุดของแถบสว่างที่ 2 และที่ 3 ทำมุม และ กับแนวกลางตามลำดับ จงคำนวณหามุม
ในการทดลองของ Thomson เพื่อหาอัตราส่วน q/m ของอนุภาครังสีแคโทด โดยใช้สนามแม่เหล็กขนาด T รัศมีความโค้งของอนุภาครังสีแคโทด 10.0 cm จงหาความต่างศักย์ระหว่างแผ่นโลหะทั้งสองถ้า q/m มีค่า C/kg และแผ่นทั้งสองห่างกัน 2.0 cm
สำหรับอะตอมไฮโดรเจนตามทฤษฎีของโบร์รัศมีวงโคจรของอิเล็กตรอนในวงที่ 6 เป็นกี่เท่าของสถานะกระตุ้นที่ 2
ในการที่จะให้พันธะทางเคมีในโมเลกุลของผิวหนังมนุษย์แตกออกจากกัน พบว่าผิวหนังมนุษย์ต้องถูกเผาด้วยแสงอาทิตย์ในช่วงอัลตราไวโอเลต ซึ่งพลังงานของโฟตอนมีค่าประมาณ 3.5 eV จงหาความยาวคลื่นของแสงอัลตราไวโอเลต
หลังจากที่ เดอ บรอยล์ เสนอความคิดของเขาแล้ว ได้มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้พยายามทดลองความเป็นไปได้ของสมมติฐานดังกล่าว โดยคิดว่า ถ้าอนุภาคมีสมบัติของคลื่น อนุภาคก็น่าจะแสดงสมบัติการแทรกสอดและการเลี้ยวเบนได้เช่นเดียวกับคลื่นทั่วไป อนุภาคที่ใช้ในการศึกษาครั้งแรกก็คืออิเล็กตรอน แต่เนื่องจากความยาวคลื่นของอิเล็กตรอนที่คำนวณได้ตามสมการ = h/mv มีค่าน้อยมาก แม้ว่าอิเล็กตรอนจะมีอัตราเร็วน้อยเท่าใดก็ตามการใช้เกรตติงสำหรับแสงตรวจสอบสมบัติดังกล่าวย่อมไม่ได้ผลเพราะจากความรู้เรื่องคลื่น เราทราบแล้วว่า ความกว้างของช่องแคบจะต้องมีขนาดใกล้เคียงกับความยาวคลื่น จึงจะทำให้เกิดการเลี้ยวเบนได้มาก พร้อมทั้งเกิดการแทรกสอดและได้ภาพชัดขึ้น
เมื่อ พ.ศ. 2468 เดวิสสันและเกอร์เมอร์ได้ทำการทดลองโดยยิงอิเล็กตรอนเข้าไปกระทบผลึกของนิกเกิล ปรากฏว่า อิเล็กตรอนที่สะท้อนออกมาแสดงสมบัติการแทรกสอดและการเลี้ยวเบนเมื่อผ่านอะตอมในผลึกซึ่งเรียงตัวกันเป็นระเบียบ และได้ผลการทดลองในลักษณะเดียวกับรังสีเอกซ์ และเมื่อให้ลำอิเล็กตรอนผ่านขอบกำบังเส้นตรงที่ขวางทางเดินของอิเล็กตรอน อิเล็กตรอนก็แสดงการเลี้ยวเบน แล้วไปแทรกสอดบนฟิล์ม ดังแสดง ในรูป A ได้ภาพในลักษณะเดียวกับที่ทดลองโดยใช้รังสีเอกซ์
ปีต่อมา เจ พี ทอมสัน (บุตรของ เจ เจ ทอมสัน) ได้ทำการทดลองให้อิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูงหรือรังสีแคโทดผ่านโลหะ เช่น อะลูมิเนียม เงิน และทองคำที่ทำให้เป็นแผ่นบางๆ ปรากฏว่าอิเล็กตรอนเลี้ยวเบนผ่านผลึกโลหะไปแทรกสอดบนฟิล์ม ได้ภาพในลักษณะเดียวกับที่ทดลองโดยใช้รังสีเอกซ์
จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า คลื่นแสดงสมบัติของอนุภาคได้ และอนุภาคก็แสดงสมบัติของคลื่นได้ สมบัติดังกล่าวนี้เรียกว่า ทวิภาพของคลื่นและนุภาค จงหาความยาวคลื่นเดอ บรอยล์ของอิเล็กตรอนในหน่วยอังสตรอม () เมื่ออิเล็กตรอนมีอัตราเร็ว 6×106 m/s
เมื่อทำให้เกิดคลื่นดลหน้าคลื่นเส้นตรงขึ้นในชุดถาดคลื่น โดยใช้คานกำเนิดคลื่นตรงกระทุ่มน้ำ 1 ครั้ง พบว่าคลื่นดลนี้เคลื่อนที่ไปถึงขอบถาดที่อยู่ห่างออกไป 40 เซนติเมตรในเวลา 10 วินาทีและมีคลื่นสะท้อนน้อยมากจากขอบถาด ต่อมาทำให้คานกำเนิดคลื่นกระทุ่มน้ำด้วยความถี่ 10 ครั้งต่อวินาทีอย่างสม่ำเสมอ จะพบว่าเวลาที่ยอดคลื่น 2 ยอดที่อยู่ใกล้กันที่สุดจะเคลื่อนที่มาถึงขอบถาดคลื่นห่างกันเป็นเวลากี่วินาที
อนุภาคหนึ่งมีมวล m ขณะที่กำลังวิ่งด้วยความเร็ว v ทำให้อนุภาคนี้ มีพลังงานทั้งหมดเท่ากับ mc2 ถ้าพลังงานนี้มีค่าเป็น 5 เท่าของพลังงานของโฟตอนตัวหนึ่งที่มีโมเมนตัมเท่ากับโมเมนตัมของอนุภาคนี้พอดี อยากทราบว่าอัตราส่วน v/c มีค่าเท่าไร
คลื่นสองขบวนเคลื่อนที่สวนกัน ณ เวลาหนึ่งดังรูป (a) เป็นเวลาเท่าใด คลื่นลัพธ์มีแอมปลิจูดมากที่สุด
เมื่อมีการคายพลังงานออกมาจากอะตอมไฮโดรเจนพบว่ามีโฟตอนความยาวคลื่น เกิดขึ้นในกรณีนี้อิเล็กตรอนมีการ เปลี่ยนแปลงวงโคจรตามตัวเลือกใด
คลื่นรวมซึ่งเกิดจากการแทรกสอดของคลื่นสองขบวนที่มีแอมพลิจูด ความถี่และความยาวคลื่นเท่ากันแต่มีเฟสต่างกัน 180 องศาจะมีลักษณะดังข้อใด
ปฏิกิริยา เป็นปฏิกิริยาที่นักฟิสิกส์สามารถแปลงนิวเคลียสเสถียรให้เป็นนิวเคลียส ซึ่งเป็นนิวเคลียสกัมมันตรังสีได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1934 จงหาพลังงานจากปฏิกิริยานี้
กำหนดมวลอะตอม
Al-27 = 26.9815 u
He-4 = 4.0026 u
P-30 = 29.9783 u
และมวลของ
มวล 1 u = 930 MeV